ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

พระกริ่งและพะชัยวัฒน์เป็นตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์มาจากที่ใด เพราะอะไรพระคณาจารย์โบราณได้สร้างสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันหลักของพระพุทธศสานา พระพุทธศาสนาเป็นศสานาที่มีประชาชนศรัทธาและเคารพนับถือเป็นจำนวนมากศาสนาหนึ่ง โดยเฉพาะประชาชนในทวีปเอเชียองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นพระพระบรมศาสดา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าได้ถึงวาระดับขันธ์ปรินิพพานมาแล้ว ๖๒๔ ปี บรรดา พุทธสาวกมีความเห็นแตกแยกกันในหลักคำสอนเมื่อมีเหตุผลดังนั้นพุทธสาวกทั้งหลาย จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อทำการสังคายนาในหลักคำสอนและได้เกิดความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยึดถือในการปฏิบัติและมีความเห็นว่าต้องยึดถือในพระวินัยอย่างเคร่งครัด จึงเกิด “นิกายลัทธิหินยาน” อีกฝ่ายมีความเห็นว่าต้องยึดหลัดพระอภิธรรมซึ่งไม่เคร่งครัดในด้านพระวินัย และถือว่าการกระทำด้วยเหตุผลและเป็นผลต่อการอนุเคราะห์ยกเว้นได้ ความเห็นเช่นนี้ทำให้เกิดเป็น “นิกายลัทธิมหายาน” ในลัทธิมหายานได้แปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งบดสวดมนต์เป็นภาษาของตัวเอง แต่ลัทธินิกายหินยานเป็นการยึดถือพระบาลีอย่างเคร่งครัด

พระพุทธเจ้าพระองค์ที่มีนามว่า “พระไภษัชยคุรุ” เป็นพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิชนที่นับถือลัทธิมหายานนับถือมากดังที่ปรากฏในข้อความหนังสือ “กำเนิดพระกริ่ง” ที่เขียนโดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ในหนังสือ “ชีวิต” ฉบับที่ ๕ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ความหมาย ตอนหนึ่งว่า “อันที่จริงพระกริ่งก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชคุรุพุทธเจ้านั่นเองพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิ มหายานยิ่งนัก ปรากฏพระประวัติอยู่ ในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ พระพุทธไภภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลประณิธานสูตร” สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศากยมุนีพุทธเสด็จประทับ ณ กรุงเวสาลี สุขโฆสวิหาร พร้อมด้วยพระมหาสาวก ๔,๐๐๐ องค์ พระโพธิสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และพระราชาธิบดี เสนาอำมาตย์ ตลอดจนปวงเทพโดยสมัยนั้นและพระมัญชุศรีผู้ธรรมราชาบุตร อาศัยพระพุทธภินิหารลุกขึ้นจากที่ประทับทำจีวรเฉลียงบ่าข้างหนึ่ง ลงคุกพระชาณุกับแผ่นดิน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสมเด็จพระโลกนาถเจ้า ประคองอัญชลีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์โปรดประทานพระธรรมเทศนา พระพุทธนามและมหามูลปณิธานและคุณวิเศษอันโอฬารแห่ง ปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อยังผู้สดับพระธรรมกถานี้ ให้ได้รับหัตถประโยชน์บรรลุถุงสุขภูมิ” ความสุขในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีสัตว์เหล่าใดที่ยากจนปราศจากอาภรณ์นุ่งห่ม อันความหนาวร้อนและเหลือบยุงเบียดเบือน ทั้งกลางวันและกลางคืน หากได้สดับนามแห่งเราและหมั่นรำลึกถึงเราไซร้ เราจักได้สิ่งที่ปรารถนาและจักบริบูรณ์ด้วยธนสารสมบัติสรรพอาภรณ์เครื่องประดับและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ ฯลฯ พระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ตรัสต่อไปว่า พรไภษัชยคุรุ มีพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ ๑๒ องค์ คือพระสุริยไวโรจนะและพระจันทรไวโรจนะ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยของพระไภษัชยคุรุพระพุทะเจ้าเบื้องปลายแห่งประสูติ ทรงแสดงอานิสงส์ของการบูชาพระไภษัชยคุรุว่า “ผู้ใดก็ดีได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้ว ก็เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย ศาสตราวุธทำอันตรายมิได้ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ” ในเวลาตรัสพระคาถา พระบรมศาสดาทรงพระทัยเข้าสมาธิ ชื่อ “สรวลสัตวทุกขภินทนาสมาธิ” ปรากฏรัศมีไพไรจน์ขึ้นเหนือพระเกตุมาลา แล้วจึงตรัสพระคาถามหาธารณี  

การกำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย

  ในพุทธศาสนาได้แบ่งเป็นลัทธินิกายใหญ่สองนิกาย ในพุทธศาสนาลัทธินิกายมหายาน พุทธสาวกได้เคารพและศรัทธาในพระพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง คือ พระไภษัชยคุรุ ซึ่งมีความปรารถนาในการที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ในโลก เมื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระไภษัชยคุรุได้ปรากฏ จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปไภษัชยคุรุขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเพื่อกราบไหว้สัการบูชาขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปที่สาวกลัทธินิกายมหายาน เคารพนับถือมากได้ปรากฏมีพระปฏิมาของพระไภษัชยคุรุบูชากันทั่วไปในวัดของ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียดนาม และประเทศเขมรและเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเทศไทยเพิ่งจะมาเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เมื่อยุคกรุงสุโขทัย อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งตั้งแคว้นอยู่บนคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๗๐๐ รวมระยะ ๖๐๐ ปี เป็นอาณาจักรที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายในหมู่เกาะชวา มลายู จนมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนประเทศเขมรปรากฏมีพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและลัทธิพราหมณ์เจริญแข่งกันพระมหากษัตริย์ของประเทศเขมรหรือขอมในสมัยนั้นบางองค์เป็นพุทธมามกะบางองค์เป็นพราหมณ์มกะ

ใน พ.ศ.๑๕๔๖ – ๑๕๙๒ “พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑”ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรที่ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้วมีพระนามว่า “พระบรมนิวารณบท” ลัทธิมหายานไม่เฟื่องฟูในสมัยพระองค์มากนักเนื่องจากสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยังมีกษัตริย์อีกพระองค์คือ “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๔๘ พระองค์ทรงเป็นมหายานพุทธมามกะโดยแท้จริง ทรงพยามยามจรรโลงพุทธศาสนาลัทธิมหายานให้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของประชาชนทรงเป็นพระมหาราชาธิราชองค์สุดท้ายของประเทศเขมร เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์และประเทศเขมรก็เข้าสู่ยุคเสื่อมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองใหม่ชื่อ “นครชัยศรี” คือปราสาทพระขรรค์สำหรับเป็นพุทธสถานประดิษฐานพระปฏิมาอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ อันเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณาซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันพระชนกแล้วทรงสร้างปราสาทตาพรหม ประดิษฐานพระปฏิมาปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์แห่งปัญญาอุทิศแด่พระวรราชมารดา มีจารึกว่าปราสาทตาพรหมเป็นอาวาสสำหรับพระมหาเถระ ๑๘ องค์และสำหรับพระภิกษุ ๑,๗๔๐ รูป แล้วทรงสร้างปราสาทบายนเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสนองพระองค์เอง

การปรากฏศิลาจารึกตาพรหมว่า “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ได้สร้างโรงพยาบาลคือ “อโรคยาศาลา” เป็นทานทั่วพระราชอาณาจักรถึง ๑๐๒ แห่ง ด้วยทรงเคารพนับถือพระไภษัชยคุรุ ทรงพยายามอนุวัติตามพระพุทธจริยาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น นอกจากนั้นยังได้สร้างรูปพระปฏิมา “ชยพุทธมหานาถ” พระราชทานไปประดาฐานไว้ในเมืองอื่นๆ ๒๓ แห่ง ทรงสร้างธรรม ศาลา ขุดสระ สร้างถนนจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ “พระกริ่งปทุม” ของเขมรได้สร้างขึ้นอย่างแพร่หลายทุกยุคในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่ออุทิศบูชาแด่พระพุทธไภษัชยคุรุ และได้มีการสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ในการสร้างได้มีพิธีปลุกเสกประจุฤทธิ์เข้าไปตามกระบวนลัทธิมหายาน การปรากฏในพระพุทะไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปรณิธานสูตร พระกริ่งปทุมจึงมีฤทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังลัทธิพุทธมหายานเสื่อมสูญคติการสร้างพระกริ่งยังคงสืบทอดกันมา และกลับมาแพร่หลายในหมู่ชาวไทย ลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเขมร เพราะมีอาณาบริเวรประเทศติดต่อกัน แต่เมื่อนานเข้าก็ลืมประวัติเดิม วิการสร้างแบบเดิม เพราะพระสูตรมหายานเป็นภาษาสันสกฤตเลือนหายไปตามพุทธลัทธิมหายาน ต่อมาพระเกจิอาจารย์ท่านได้ดัดแปลงวิการสร้างใหม่ตามแบบไสยเวทมีการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นที่โลหะซึ่งก็บังเกิดผลศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามาตรว่าทำขั้นตอนให้ถูกต้องตามพิธีกรรมใหม่นี้จริงๆส่วนเม็ดกริ่งในองค์พระนั้นน่าสันนิษฐานได้ ๒ ประการ โดยประการแรกเพื่อสัญลักษณ์แห่งพระพุทธภาวะ และประการที่สองตามคติที่ว่าถ้าได้สดับพระนามจะได้รับความโชคดีจึงได้บรรจุเม็ดกริ่งไว้เพราะเมื่อสั่นองค์พระจะได้บุญสองต่อผู้สั่นเท่ากับได้เจริญภาวนาถึงพระไภษัชยคุรุ ส่วนผู้ที่ได้ยินก็ได้รับบุญด้วย อนึ่งในบรรดาผู้นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทะไภษัชยคุรุพบว่า พระกริ่งบางสมัยหรือบางสำนักเป็นพระพุทธรูปนั่งแบบปาง “มารวิชัย” พระหัตถ์ข้างซ้ายแทนที่จะถือ “วัชระ” กลับถือ บาตรน้ำมนต์ ผลสมอ ฯลฯ เหตุก็เพราะผู้สร้างคงมีประสงค์จะให้มีความหมายในทางบูชาแล้วป้องกันสรรพโรคาพาธและความอัปมงคล สำหรับประเทศไทย การสร้างพระกริ่งปรากฏเป็นหลักฐาน ก่อนยุครัตนโกสินทร์ มีบางท่านกล่าวอ้างว่า “ควรสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะมีตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” เป็นเครื่องมือแต่ “ตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” ได้มีการบันทึกไว้ในตอนท้ายของตำราว่า “เป็นพระยันต์ที่ใช้สำหรับลงหล่อพระพุทธรูปที่สำคัญ” แต่พระคณาจารย์ในยุคต่อมานำเอาพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ มาลงผสมในหล่อโลหะเพื่อความขลังของพระกริ่งหรือพระชัยวัฒน์หล่อขึ้น

ส่วนพระกริ่งหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่า จะต้องถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดบวรนิเวศฯ ด้วยหลักฐานข้อมูล พิจารณา คือ ๑. ประการแรก จากคำบอกเล่าของผู้ที่เกิดทันสมัย (หมอสุภา มีทองคำ) ได้บอกกล่าวเล่าให้พระคุณหนุ (อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร) ฟังว่า “สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว ได้สร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๑โดยจัดพิธีขึ้นบริเวณหน้ากุฏิคณะ ๑๑ สร้างครั้งแรกเพียง ๙ องค์หมายเลขกำกับทุกองค์” ๒. ประการที่สอง ในขณะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสฺเทว) ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๑ สมเด็จพระมหาสมรเจ้าพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาเยี่ยม เมื่อทรงทราบ รายละเอียดถึงพระอาการของโรคแล้วทรงรับสั่งว่า “เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯสมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ท่าน ทรงพระอธิษฐานอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำ ขอให้เป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้อหิวาตกโรคกินหายปกติเป็นปกติ” ปรากฏว่าอาการป่วยค่อยทุเลาลงเป็นลำดับและหายเป็นปกติในที่สุด

ที่กล่าวมาทั้งหมดพระกริ่งได้มีวิวัฒนาการถือกำหนดขึ้น ณ สถานที่ใดก่อน ทั้งหมดที่เสนอมามิใช่ข้อยุติ เป็นเพียงข้อมูลและหลักฐานที่ผู้เขียนศึกษาค้นคว้าตามความสามารถเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คำบอกเล่าและการสันนิษฐานจากแหตุและผลเท่านั้น

Cr. ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น

หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ

หลวงพ่อพรหม แห่ง วัดขนอนเหนือ ถือว่า เป็นหนึ่งในพระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง โดยเฉพาะเรื่องความคงกระพันชาตรี ที่ท่านได้รับการพูดถึงและยกย่องอย่างแพร่หลาย
หลวงพ่อพรหม   ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่  20  ตุลาคม  พ.ศ.  2456 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11  ปี ฉลู 
อุปสมบทในเดือน 6  ตรงกับปี พ.ศ. 2479  อายุ 23 ปี  โดยมีพระครูสารกิจ (ฝัก) วัดทำเลไทย อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ชุ่ม วัดขนอนเหนือ  เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การได้มาซึ่งวิชาอาคมที่เข้มขลังของท่านนั้น เริ่มต้นได้รับการถ่ายทอด จากโยมสุวรรณ ซึ่งบิดาของท่านตั้งแต่เยาว์วัย ผ่านตำราของท่านขรัวแสง วัดเสาประโคน สหธรรมิกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า   ทำให้หลวงพ่อพรหมมีทั้งความรู้ในด้านวิชาอาคมรวมทั้งว่ากันว่าท่านมีหนังดีมาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ

และเมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่อพรหมยังเดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเถราจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงปู่ฟัก วัดทำเลไทย หลวงปู่อ่ำ วัดงิ้วงาม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ เป็นต้น 

ส่วนในด้านวัตถุมงคลนั้นหลวงพ่อพรหมได้สร้างวัตถุมงคลไว้จำนวนหลายรุ่นด้วยกันแต่ที่โดดเด่นและพูดถึงนั้นก็จะมี เหรียญนารายณ์ออกศึก ,นารายณ์ทรงเมือง และเหรียญหนุมานออกศึก

หลวงพ่อพรหม มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 มกราคม ปี2534 ด้วยอายุ 78 ปี ปัจจุบันสังขารท่านไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้ว ที่วัดขนอนเหนือ  

ตำนานพระ 5 พี่น้อง เบญจภาคีวารีปาฏิหาริย์

พระพุทธรูปทั้ง 5 นี้เป็นพี่น้องกันก็มาจากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุและสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล มีอำนาจทางจิตมาก ได้ตั้งจิตอธิษฐานร่วมกันว่าจะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน 

"เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน" 

และเมื่อพระภิกษุทั้งห้ามรณภาพไปแล้ว ก็ได้เข้ามาสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์และแสดงปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำทั้ง 5 สาย และมีชาวบ้านมาพบเจอจึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและนำไปประดิษฐานไว้ตามวัดใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ


1.หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
ประวัติของหลวงพ่อโสธรนั้น หลังจากที่ลอยน้ำมาถึงบริเวณหน้าวัดโสธร ชาวบ้านจำนวนมากมาช่วยกันฉุดองค์พระขึ้นฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาจึงมีผู้รู้คนหนึ่งได้ทำพิธีบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญ และใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ก่อนจะฉุดขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปองค์นี้จึงเสด็จขึ้นมาอยู่บนฝั่งได้ และชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอัญเชิญมาประดิษฐานที่พระวิหารในวัดโสธร

ปัจจุบัน “หลวงพ่อโสธร” หรือ “พระพุทธโสธร” ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถหินอ่อนหลังใหม่ของ “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โดยภายในพระอุโบสถหลังใหม่นี้ตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามด้วยเรื่องราวของแดงแห่งทิพย์ และที่ใกล้กับพระอุโบสถหลังใหม่ ก็เป็นพระอุโบสถหลังเดิมที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรองค์จำลอง ที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาสักการะและปิดทองที่ตัวองค์พระได้

2.หลวงพ่อโต จ.สมุทรปราการ
สำหรับประวัติของหลวงพ่อโตนั้น หลังจากที่องค์พระลอยน้ำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มีชาวบ้านพยายามฉุดองค์พระขึ้นจากน้ำแต่ก็ไม่สำเร็จ จากนั้นองค์พระก็ลอยมาผุดขึ้นที่คลองสำโรง สมุทรปราการ ชาวบ้านแถบนี้จึงอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยขนะสงคราม หรือ วัดบางพลีใหญ่ใน จนถึงในปัจจุบัน

“หลวงพ่อโต” ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ “วัดบางพลีใหญ่ใน” อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเหตุที่ชื่อว่าหลวงพ่อโตก็เนื่องจากองค์ท่านมีขนาดใหญ่โต หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ และมีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่สร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ นั้นก็มีการวัดขนาดองค์พระกับช่องประตู โดยเผื่อความกว้างของช่องประตูไว้แล้ว แต่เมื่อถึงเวลาอัญเชิญหลงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถจริงๆ ปรากฏว่าหลวงพ่อองค์ใหญ่กว่าช่องประตูมาก บางคนเชื่อว่าเป็นอภินิหารของหลวงพ่อโต จึงช่วยกันจุดธูปอธิษฐานขอให้หลวงพ่อผ่านเข้าประตูโบสถ์ไปได้ ซึ่งก็สามารถอัญเชิญหลวงพ่อผ่านเข้าประตูโบสถ์ได้อย่างง่ายดาย

3.หลวงพ่อทอง จ.เพชรบุรี
ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านแหลมซึ่งอยู่ปากอ่าวจังหวัดเพชรบุรี ได้เป็นลากอวนไปพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยติดขึ้นมา จึงได้อาราธนาพระพุทธรูปขึ้นบนเรือแล้วกลับเข้าฝั่ง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ “วัดเขาตะเครา”อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และประดิษฐานอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน

“หลวงพ่อทอง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เดิมชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ต่อมาเกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาเรียกว่าหลวงพ่อทอง โดยชาวบ้านเชื่อกันว่า หลวงพ่อทองนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องโชคลาภ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่สมัครเรียน สมัครงาน ฯลฯ มักจะมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย

4.หลวงพ่อบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
ตำนานของหลวงพ่อบ้านแหลมเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ขณะที่พบพระพุทธรูปลอยน้ำมาหนึ่งองค์ (หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา) และกำลังกลับเข้าฝั่ง ก็พบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งลอยปริ่มน้ำอยู่ไม่ไกลนัก เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร จึงได้อัญเชิญขึ้นเรืออีกลำหนึ่ง แต่พอเรือแล่นมาถึงแม่น้ำแม่กลอง หน้าวัดศรีจำปา ก็ได้เกิดมีฝนตกหนัก ลมพายุแรงจนทำให้เรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนนั้นล่มลง พระจมหายลงไปหาอย่างไรก็ไม่พบ

ต่อมา ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ช่วยกันลงค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลอง จนพบพระพุทธรูปยืนนั้นและอัญเชิญไปยังวัดศรีจำปา แต่เมื่อชาวบ้านแหลมที่เป็นผู้พบได้รู้ข่าวว่าเจอพระพุทธรูปที่จมน้ำแล้วจึงพากันมาทวงพระคืน แต่ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ไม่ยอมคืนให้ จนสรุปสุดท้ายชาวบ้านแหลมจึงยินยอมยกพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรให้ชาวบ้านศรีจำปาไป แต่มีข้อแม้ว่าต้องเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดบ้านแหลม" ตามสถานที่ที่พบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก และเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"


“หลวงพ่อบ้านแหลม” เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวใน 5 องค์ที่เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ “วัดบ้านแหลม” หรือ “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านมักจะมาขอพรเรื่องความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน แคล้วคลาด ปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง

5.หลวงพ่อวัดไร่ขิง จ.นครปฐม
ประวัติของหลวงพ่อวัดไร่ขิงนี้มีอยู่หลายแบบด้วยกัน บ้างก็ว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และชาวบ้านได้นำขึ้นประดิษฐานที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และเรียกท่านว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” บ้างก็เล่าว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรในพ.ศ.2394 และครองวัดศาลาปูนวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา อนุญาตให้อัญเชิญจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิง โดยอัญเชิญล่องแพมาทางลำน้ำ

และในวันที่ชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพไม้ไผ่ ตรงกับวันสงกรานต์พอดี ขณะที่กำลังอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพนั้น แสงแดดที่ส่องแรงก็กลายเป็นเมฆดำ มีฟ้าร้องฝนตกโปรยปรายลงมา ทำให้คนที่อยู่ ณ ที่นั้นเกิดความชื่นใจ เชื่อว่าหลวงพ่อจะช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป


พระร่วงโรจนฤทธิ์

ประวัติ พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม วัดแห่งนี้ เป็นที่ตั้งประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย ทั้งนี้ วัดพระปฐมเจดีย์ ยังมี "พระร่วงโรจนฤทธิ์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีชื่อเต็ม คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466 แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์" เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า มีพระอุทรพลุ้ย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในปี พ.ศ.2451 ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมาก เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2456 ณ วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ โดยมีผู้ออกแบบ คือ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร) จากนั้นได้อัญเชิญมาสู่จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2457 ทางรถไฟ ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน เมื่อครั้งอัญเชิญพระร่วงฯ มาประ ดิษฐานยังองค์พระปฐมเจดีย์ จำเป็นต้องแยกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม เสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458

ลักษณะเด่น

เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า มีพระอุทรพลุ้ย

ประวัติ

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีชื่อเต็ม คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466 แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์

ความเชื่อเรื่องที่สิ่งที่ พระร่วงโรจนฯ ทรงโปรด และ พระคาถาบูชา

มีความเชื่อว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์โปรดลูกปืน ต้องแก้บนด้วยการยิงปืน แต่ต่อมาเป็นเรื่องผิดกฎหมาย จึงใช้จุดประทัดแทน และ ของโปรดอีกอย่างที่เป็นที่ทราบกันทั่วไปของชาวบ้านทั้งชาวไทยชาวจีนในนครปฐม คือ ไข่ต้มสุกแล้วชุบสีแดงที่เปลือก

เคยเห็นมี ผู้มาแก้บนด้วยไข่ต้มนับร้อยนับพันใบมาแล้ว ปิดท้ายกันด้วย "พระคาถาบูชา"

"ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าวันทาพระร่วงโรจนฤทธิ์พระองค์นี้ ซึ่งเป็นที่นำบุญมาให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้นมัสการอยู่ แม้พระปฐมเจดีย์ใหญ่ใด ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประดิษฐานองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์ ไม่น้อย งดงามดุจพระจันทร์ในยามราตรี ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าวันทาพระปฐมเจดีย์นี้ ซึ่งเป็นที่นำบุญมาให้แก่ผู้ทัศนา อยู่เสมอ

ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระบรมสารีริกธาตุ และองค์พระปฐมเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งควรนมัสการอยู่โดยส่วนเดียว ด้วยเครื่องสักการะคือดอกไม้ไฟอันตั้งอยู่ ณ ทิศทั้งสี่ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ได้แล้วซึ่งบุญอันใด

ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข เป็นผู้ไม่มีเวร ปราศจากอันตราย เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมเป็นนิตย์เทอญ"

คาถาบูชาพระร่วงโรจนฤทธิ์

(วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม)

(ตั้งนะโม 3 จบ)

อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ

ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวายัง อธิฏฐามิ

ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ

(.....อธิษฐาน.....)

ปีชง ปีเถาะ 2566 พร้อมวิธีแก้ชง

ปีชง เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน คำว่า "ชง" ในภาษาจีนนั้นแปลว่า "การปะทะ"
ฉะนั้น คำว่าปีชงจึงหมายถึง "ปีที่อาจมีการปะทะเกิดขึ้น" ซึ่งเชื่อกันว่าจะต้องมี วิธีแก้ชง เพื่อบรรเทาเคราะห์กรรมหรือผลกระทบต่างๆให้เบาบางลง
โดยใน ปี 2566 มีปีนักษัตรที่ถือเป็นปีชง คือ ปีระกา ปีเถาะ ปีชวด ปีมะเมีย
ปีชง (100%) หรือ ปีชงตรง 2566 ปีนักษัตรอะไร
ปีชงตรง 100% คือ ปีระกา หรือ คนที่เกิดปี พ.ศ. 2476, 2488, 2500, 2512, 2524, 2536, 2548, 2560
ปีชงร่วม 2566 ได้แก่ ปีนักษัตรอะไร
ปีชงร่วม ได้แก่ ปีเถาะ, ปีชวด, ปีมะเมีย หรือ คนที่เกิดปี พ.ศ. 2467, 2470, 2473, 2479, 2482, 2485, 2491, 2494, 2497, 2503, 2506, 2509, 2515, 2518, 2521, 2527, 2530, 2533, 2539, 2542, 2545, 2551, 2554, 2557, 2563
โดย ปีชงตรง หรือ ปีชง 100% จะได้รับผลกระทบจากปีชงมากที่สุด ส่วน ปีชงร่วม จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าในด้านต่างๆ กันไป
ปีชงร่วม คือ ปีเถาะ ปีชวด ปีมะเมีย จะได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ แตกต่างกัน แบ่งเป็น คัก เฮ้ง และ ผั่ว ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
คัก (剋) ได้แก่ ปีเถาะ
ปีคัก หมายถึงปีละเมิดองค์เทพไท้ส่วย ได้แก่ผู้ที่เกิดปีเดียวกับปีนักษัตรในรอบปีนั้นๆ ซึ่งในปี 2566 นี้ก็คือปีเถาะนั่นเอง หากตกที่ปีคัก ก็จะส่งผลให้คนเกิดปีเถาะรู้สึกชีวิตติดขัด ทำอะไรไม่ค่อยราบรื่น รู้สึกอึดอัดคับข้องใจเหมือนโดนทับไว้
เฮ้ง (刑) ได้แก่ ปีชวด
ปีเฮ้ง หมายถึง ปีที่ต้องระวังเรื่องเคราะห์กรรม อุปสรรค คดีความต่างๆ ซึ่งปีเฮ้ง 2566 ก็คือปีชวด ในปีนี้คนเกิดปีชวดจะต้องทำอะไรให้ถูกต้อง อย่าเสี่ยงทำอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่ควรซ่อนเร้นมีนอกมีใน เพราะอาจจะต้องโดนลงโทษ ตกที่นั่งลำบากได้ รวมถึงไม่ควรตกลงค้ำประกันให้ใครเพราะอาจติดร่างแหได้รับความลำบากไปด้วย และไม่ควรไปในที่อโคจร ที่เสี่ยงๆ เพราะอาจมีเกณฑ์ได้รับบาดเจ็บง่าย หรือโดนลูกหลง เป็นต้น
ผั่ว (破) ได้แก่ ปีมะเมีย
ปีผั่ว หมายถึง ปีที่จะต้องระวังเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ ปีผั่ว 2566 ก็คือ ปีมะเมียนั่นเอง ดังนั้นคนปีมะเมียจะต้องดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวให้ดี หมั่นออกกำลังกาย ดูแลอาหารการกิน และโดยเฉพาะในยุคโควิด-19 แบบนี้ ควรจะยกการ์ดสูง ป้องกันตนเองให้เต็มที่อย่าประมาท ส่วนเรื่องความรักก็อาจมีปัญหาขัดแย้งกันได้ง่าย ควรใช้สติในการพูดคุยและหมั่นดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน

ปีระกา ปีชง 100% 

ท่านที่เกิดปีระกา จะเป็นการชงโดยตรง 100% โดยการชง แปลว่า การปะทะหรือเกิดผลเสียหาย ปีนี้คุณจึงมีโอกาสที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่ดี พลังงานลบหรือเคราะห์ร้าย ดังนั้นคุณจึงควรมีสติและความรอบคอบในการใช้ชีวิตเป็นพิเศษ อาจเจออุปสรรคหรือความผิดพลาดเยอะกว่าปกติ บางคนเกิดจุดพลิกผันของชีวิตอย่างชัดเจน พยายามมองในแง่ดี นี่เปรียบเสมือนได้เจอบทเรียนบททดสอบอีกขั้นของชีวิต ซึ่งเมื่อผ่านไปได้ก็จะกล้าแกร่งและเก่งกาจมากขึ้น

วิธีแก้ชง ปีระกา ปี 2566

ต้องข่มใจไม่ให้ใจร้อนวู่วามอย่างเด็ดขาด หมั่นทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ ปล่อยนกปล่อยปลา บริจาคเลือด บริจาคโลงศพ ทำบุญเกี่ยวกับยารักษาโรค สวดมนต์และถือศีลอย่าได้ขาด และหลีกเลี่ยงการไปงานศพ

ปีเถาะ ปีชวด และปีมะเมีย ปีชงร่วม 2566 

ส่วนปีชงร่วมได้แก่ ปีเถาะ ปีชวด และปีมะเมีย ถือว่าได้รับผลพวงไปกับพลังงานไม่ดี ทำให้มีปัญหาหรืออุปสรรคไปด้วย แต่จะมีผลน้อยกว่าปีที่ชงตรงๆ อย่างปีระกา

ท่านที่เกิดปีมะเมีย

เป็นการชงร่วม โดยคุณมีเกณฑ์จะเจ็บป่วย เกิดเรื่องราวที่ไม่ดี หรือถูกเลื่อยขาเก้าอี้ ระวังความเครียดความกดดันต่างๆ หรืออุบัติเหตุเลือดตกอย่างออกไว้ด้วย ทั้งยังอาจเจอเรื่องเสียหายเชิงเงินๆ ทองๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะสังคมและคนรอบข้างที่จะทำให้คุณเดือดร้อน

วิธีแก้ชง ปีมะเมีย ปี 2566

ร่วมเป็นเจ้าภาพบวชพระบวชเณร ถวายหนังสือธรรมะ/หนังสือสวดมนต์ ทำบุญกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ บริจาคน้ำดื่มน้ำปานะ และเป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคม

ท่านที่เกิดปีชวด

เป็นการชงร่วม ถือว่ามีผลกระทบในทางที่ร้าย เช่น ความรักจะมีปัญหา บุตรบริวารจะนำเรื่องเดือดร้อนมาให้ ถูกทำให้เสียชื่อเสียงและเครดิต ดังนั้นไม่ควรไว้ใจใครมากโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเงินและเพื่อนฝูง มีแนวโน้มจะถูกหักหลังหรือผิดใจกับเพื่อนได้

วิธีแก้ชง ปีชวด ปี 2566

บริจาคน้ำดื่มน้ำปานะ ดูแลบุพการีให้มีความสุข (ไม่ทะเลาะกัน) บริจาคเงินสมทบทุนทางการแพทย์ บริจาคเครื่องมือแพทย์ ทำบุญด้วยข้าวสารอาหารแห้ง ไปสักการะบูชาเทพที่เป็นหญิง พระแก้วมรกตและพระพรหมเพื่อความเป็นสิริมงคล

ท่านที่เกิดปีเถาะ 

เป็นการชงร่วม (ปีคัก = ปีที่เป็นนักษัตรเดียวกับปีนั้นๆ) แบบชงตัวเอง มีเกณฑ์มีปัญหาด้านการเงินและความรัก เช่น เก็บเงินไม่อยู่ ลงทุนแล้วเสียหาย มีปัญหากับคนรักหรือญาติพี่น้องในเชิงไม่ลงรอยกัน ถูกเพื่อนร่วมงานหักหลังหรือถูกขโมยผลงาน มีโอกาสถูกหลอกลวงให้เสียหาย เน้นย้ำว่าไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทั้งปวง เพราะอาจจะต้องโทษมีคดีความได้ นอกจากนี้ พยายามอย่าใจร้อนวู่วามแม้มีเรื่องให้เสียอารมณ์บ่อย ที่อยู่อาศัยมีเกณฑ์เสียหายและต้องเสียเงินซ่อมแซม

วิธีแก้ชง ปีเถาะ ปี 2566

บริจาคอุปกรณ์การศึกษา เป็นเจ้าภาพกองทุนการศึกษาให้แก่เด็กผู้ยากไร้ ทำโรงทาน บริจาคข้าวสารอาหารแห้งอาหารแปรรูปต่างๆ ทำนุบำรุงศาสนาที่คุณเคารพนับถือ ไหว้เจ้าที่เจ้าทางอย่าได้ขาด บริจาคเลือด บริจาคเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มยารักษาโรค ไปสักการะศาลหลักเมือง พระแก้วมรกตและพระพรหมเพื่อความเป็นสิริมงคล


ไหว้เทพเจ้าไท้ส่วย เพื่อให้ท่านช่วยคุ้มครองดวงชะตา จะช่วยบรรเทาเคราะห์กรรมได้
ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ เช่นการไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยนกปล่อยปลา
ทำบุญช่วยเหลือผู้ป่วย บริจาคโลหิต ทำบุญโลงศพ (อ่านเพิ่มเติม ทำบุญโลงศพ บริจาคโลงศพ ทำที่ไหน ทำอย่างไรให้ได้บุญ)
ไหว้พระ 9 วัด ช่วยเสริมสิริมงคลให้ชีวิต และที่สำคัญคือ การสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม และเจริญสติ ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
ตามความเชื่อของชาวจีน การไหว้ องค์ไท่ส่วยเอี้ย หรือ ไท้ส่วยเอี้ย สามารถที่จะช่วยบรรเทาเคราะห์กรรมในปีชงนี้ให้เบาบางลงได้
เพราะเชื่อกันว่า ท่านคือเทพผู้คุ้มครองดวงชะตาของมนุษย์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คน
คำว่า “ไท้ส่วย” ในภาษาจีนโบราณ ยังหมายถึง "ดาวพฤหัสบดี" ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจหลักหรือตัวแทนของของดาวศุภเคราะห์
สื่อถึง ความดีงาม คุณธรรม ครูบาอาจารย์ โชคลาภ เงินทอง ซึ่งมีความสอดคล้องกับโหราศาสตร์ไทย
ดังนั้นหากดาวพฤหัสบดีเดินไม่ดีสำหรับปีเกิดใด ก็ย่อมส่งผลเสียต่อต่อดวงชะตาของผู้ที่เกิดปีนั้นๆ
การกราบไหว้ องค์ไท้ส่วยเอี๊ย จะช่วยส่งเสริมดวงชะตาและสิริมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกิดปีชงเมื่อกราบไหว้แล้ว จะช่วยบรรเทาเคราะห์กรรม
ปัดเป่าเรื่องร้ายให้กลับกลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัย หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้เกิดปีชง ก็สามารถกราบไหว้ได้เช่นกัน
เพื่อเป็นการส่งเสริมดวงที่ดีอยู่แล้ว ให้ยิ่งดีมากขึ้นไปอีกนั่นเอง ซึ่งวัดจีนหรือศาลเจ้าสำคัญที่เราสามารถเดินทางไปไหว้ สามารถเลือกได้ตามที่เราสะดวก

9 สถานที่แก้ชง 2566 ปีนี้ แก้ชงที่ไหนดี
วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ จ.กรุงเทพฯ
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 จ.กรุงเทพฯ
ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า จ.กรุงเทพฯ
ศาลเจ้าพ่อเสือ (พระนคร) จ.กรุงเทพฯ
ศาลเจ้าพ่อกวนอู ย่านคลองสาน จ.กรุงเทพฯ
ศาลเจ้าไต้ฮงกง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ย่านเยาวราช จ.กรุงเทพฯ
วัดทิพยวารีวิหาร หรือ วัดก้มโล่วยี่ จ.กรุงเทพฯ
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ จ.กรุงเทพฯ
วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่) จังหวัดจันทบุรี จ.กรุงเทพฯ
สำหรับท่านที่ไม่สะดวกไปแก้ชงสถานที่อื่นๆ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
ดำรงตนด้วยความมีสติ ไม่ประมาท
หมั่นทำความดีต่อบุพการี คือ พ่อ แม่ ผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์
หมั่นให้ทาน รักษาศีล และสวดมนต์ภาวนาเป็นประจำ
อธิษฐานขอพรต่อองค์ไท้ส่วยเอี้ยที่บ้าน

คนที่เกิดปีนักษัตรที่ชงข้างต้น หรือ ปีชง 2566 ไม่ควรไปร่วมในงานศพ การไปรับ-ส่งศพ ร่วมพิธีฝังศพ
เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้ดวงชะตาที่อ่อนแออยู่แล้วได้รับผลกระทบ ทำให้เจ็บป่วยง่าย หรือกิจการค้าประสบปัญหาต่าง ๆ
แต่ถ้าจำเป็น ควรแก้เคล็ดด้วยการนำกิ่งใบทับทิมติดตัวไปด้วย และเมื่อกลับมาแล้วให้ใช้น้ำสะอาดใส่กิ่งใบทับทิมปัดทั่วตัวก่อนเข้าบ้านนอก
จากนั้นคนที่เกิดปีชง 2566 ยังควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล หรือเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้
แนะนำให้ไหว้องค์ไท้ส่วยเอี้ยแก้ชงก่อนเดินทาง หรือพกยันต์ ฮู้ อากงฮู้ ติดตัวไปด้วย

เทศกาลคเณศจตุรถี หากได้ทำการขอพรใดๆกับองค์พระพิฆเนศ จะสำเร็จสมหวังดังใจปรารถนา

เชื่อกันว่าหากวันนี้ได้ทำการขอพรใดๆกับองค์พระพิฆเนศ จะสำเร็จสมหวังดังใจปรารถนา

“วันคเณศจตุรถี” เป็นวันคล้ายวันเกิดขององค์พระพิฆเนศ ถือเป็นวันสำคัญที่ไม่ควรพลาดสำหรับคนที่นับถือองค์พระพิฆเนศ และในหลายประเทศยังมีเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่

โดยวันคเณศจตุรถีนี้จะตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10

วิธีการไหว้ขอพรและข้อควรทำ

1. จัดและทำความสะอาดหิ้งบูชาพระและบูชาเทพ รวมถึงห้องบูชาพระให้สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเชื่อกันว่าเป็นการให้เกียรติและต้อนรับการมาของพระองค์ท่าน

2. จัดโต๊ะบูชาเล็กๆ แยกจากหิ้งพระ ปูด้วยผ้าสีแดงหรือสีส้มแล้วอัญเชิญเทวรูปพระพิฆเนศมาประทับไว้ โดยเชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จมาประทับอยู่ถึง 10 วัน

3. นำเทวรูปของพระพิฆเนศมาสรงน้ำ เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้า ควรเป็นเทวรูปโลหะหรือหิน ไม่ควรนำเทวรูปที่มาจากเป็นดิน ไม้ หรือเทวรูปที่ตกแต่งด้วยทอง เพชรหรือพลอยมาเช็ดถูเพราะอาจสึกหรอหรือเสียหายได้

4. ทำความสะอาดร่างกายตัวเองด้วยการอาบน้ำชำระร่างกายตนเอง

5. จัดเตรียมของไหว้ให้พร้อม ทั้ง ธูป กำยาน กระถางธูปหรือโถกำยาน /เทียน 2 เล่ม /ผลไม้มงคล แนะนำเป็นกล้วยหรือมะพร้าว / น้ำดื่มสะอาด / นม / ขนมหวาน รวมกันให้ได้ 5 ชนิดขึ้นไป /นำเมล็ดข้าวสาร เมล็ดถั่วชนิดต่างๆ จัดใส่จาน

6. เตรียมดอกไม้สดสวยๆ เช่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ดอกบัว

7. สวดภาวนาด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” 108 จบ ตั้งจิตทำสมาธิ ระลึกถึงองค์พระพิฆเนศ จากนั้นอธิษฐานขอพร “โอม ศานติ ศานติ ศานติ”

การบูชาที่ง่ายที่สุดที่ทุกคนทำได้ด้วยตัวเอง คือ ปัญโจปจาร เป็น 5ขั้นตอน คือหลังจากสรงน้ำแล้ว ให้เจิมจันท์หอมที่พระนลาฏ จุดประทีป จุดธูป ถวายดอกไม้ และสุดท้ายถวายผลไม้ โมดัก เสร็จพิธี ตลอดการบูชา เอ่ยพระนามของพระองค์ตามที่ถนัด เช่น โอม กัง กัน ปะตะเย นะมะฮะ หรือ โอม ศรี คะเน ยะ นะมะฮะ

ปี่เซียะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตรายและภูตผีปีศาจ

ปี่เซียะ , ผีซิ่ว และ เผ่เย้า ทั้งสามคำนี้เป็นคำๆเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่นของจีน

ปี่เซียะ เป็นยอดเครื่องรางที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้พญามังกร และมีพลังแรงกว่าสิงโตคู่ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ของจีนที่ได้รับความนิยมทั้งในเมืองไทยและในประเทศต่างๆ มากที่สุดในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน เกาะฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะใครมีไว้บูชาจะทำให้มีแต่โชคลาภ ทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ขณะเดียวกันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยขจัดอาถรรพณ์ ภูตผีปีศาจ และป้องกันสิ่งชั่วร้าย เมื่อไม่มีรูทวารจึงกินอย่างเดียว ไม่มีถ่ายออก เป็นเคล็ดลับวิชาหมายถึง เงินเข้าแล้วไม่มีออก ทรัพย์จึงเพิ่มพูนสถานเดียว

ปี่เซียะ เป็นสัตว์เทพมงคลที่มีลักษณะครบตามหลักเบญจธาตุ คือ มีสี่เท้าของสิงโตอันทรงพลัง มีเขาและลำตัวเป็นกวางอันอ่อนช้อย มีปีกของพญานกอันแข็งแกร่ง มีส่วนศีรษะของมังกรอันทรงพลัง มีหางแมวอันศักดิ์สิทธิ์ และไม่มีรูทวารหนักและเบา จึงมีอานุภาพในการรับโชคลาภอย่างไม่รั่วไหล และแม่นยำ

ปี่เซียะทองคำ เครื่องรางเรียกทรัพย์ ดูดความโชคดี ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย


ปี่เซียะ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน สังเกตได้บนพระราชวังของจักรพรรดิจีน หน้าวัดเส้าหลิน หน้าธนาคารในกรุงปักกิ่ง บนหลังคาสถาปัตยกรรมที่สำคัญๆ ของจีน หรือหน้าบอนกาสิโนในมาเก๊าและฮ่องกง นับถือกันว่าเป็นสัตว์ในเทพนิยายชั้นสูง ปี่เซี่ยมีมาตั้งสมัยโบราณนานเกินกว่า 5,000 ปีแล้ว

ปี่เซียะขนาดใหญ่ในเมืองไทย มีอยู่ที่วิหารเซียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แกะจากหินแกรนิตขนาดใหญ่ ฝีมือช่างเมืองซัวเถา สาธารณรัฐประชาชนจีน

ตามหลักฮวงจุ้ยเชื่อว่ายุค 8 คือ ธาตุดิน เริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2547 – 2566 มีสัตว์มงคล คือ ปี่เซียะ เมื่อบูชาแล้วไม่ควรยกให้ใคร จะทำให้กิจการก้าวหน้า ธุรกิจร่ำรวย รายได้ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง นำมาซึ่งเกียรติยศชื่อเสียง ครอบครัวมีแต่ความสุข ควรวางไว้บูชาในบ้าน ร้านค้า สำนักงาน ทรัพย์สินจะไหลเข้าไม่มีออก

สมญานามของปี่เซียะ มีหลากหลายดังนี้
จีนแผ่นดินใหญ่เรียกว่า ตัวดูดเงิน
ฮ่องกงเรียกว่า ตัวรับโชค
ไต้หวันเรียกว่า ตัวเฮง...เฮง

รูปลักษณะของปี่เซียะ

ตัวเป็นกวาง หางแมว เล็บสิงโต ปีกนก มีเขา ไม่มีรูทวาร เป็นการรวมสัตว์หลายประเภทเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ สิงโต มังกร กวาง แมว นก ฯลฯ เป็นสัตว์ที่ไม่มีรูทวาร เป็นพาหนะของเทพ ในสมัยก่อนจะนิยมบูชาไว้หน้าบ้านเพื่อขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย บันดาลเกียรติยศชื่อเสียง ปัจจุบันเป็นสัตว์มงคลที่ใช้ดูดทรัพย์สินเงินทอง และขจัดสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลไปพร้อมๆ กัน

ปี่เซียะมีลักษณะเด่น 8 ประการ
1. อ้าปากรับทรัพย์
2. หางยาวกวักโชคลาภ
3. ยกหัวข่มศัตรูคู่แข่ง
4. เท้าตะปบทรัพย์
5. ก้าวขาก้าวหน้า
6. ลิ้นยาวตวัดเงินทอง
7. องอาจหน้าเกรงขาม
8. ไม่มีรูทวารเงินทองไม่รั่วไหล

ปี่เซียะ เป็นเครื่องรางจีนที่ให้คุณกับผู้บูชาทุกสาขาอาชีพ สำหรับคนที่อยากบูชาปี่เซียะ หากอยากได้ของดี ต้องสรรหาลักษณะที่เป็นงานเนื้อหยกแกะสลักจากช่างฝีมือดี แต่ละตัวจะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน เพราะเป็นงานแกะสลักที่ละชิ้น ตัวปี่เซียะต้องมีปากเปิด ไม่ปิด มีเขา มีขาออกมาให้เห็นเด่นชัด ยิ่งหยกเนื้อดีเท่าไร ยิ่งจะมีลายทองอยู่ส่วนบนลายทองนี้ต้องอยู่ในหยกชั้นดีเป็นชิ้นเดียวกัน นอกจากนี้ ปี่เซียะที่ดีต้องมีเครื่องหมายเรียกเงินเรียกทอง เช่น ตำลึงทอง หรือตัวอักษรที่แปลว่าเงินทองด้วย

ให้ลองจับและลองกำปี่เซียะดู หากเป็นของที่ถูกลักษณะและถูกชะตากับผู้นำไปบูชา จะรู้สึกถึงพลังของปี่เซียะ ปี่เซียะที่มีลักษณะดีมากนี้นับว่าหายากมากในเมืองจีน ผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวต้องไปแสวงหาตามแหล่งปี่เซียะชั้นดีได้แก่ เฉินฮัวเหมี่ยว ในเซี่ยงไฮ้, ตลาดฮัวเหนี่ยว ในยูนนาน, มณฑลคุนหมิง และที่กวางเจา ซึ่งถ้าหากไปหาซื้อกับคณะทัวร์มักจะได้ในราคาแพง และเป็นงานฝีมือไม่ประณีตนัก

ที่เรียกว่าได้รูปลักษณะที่ดี คนจีนเชื่อว่าต้องทำมาจากธาตุดินเท่านั้น ลักษณะตามตำราคือ ปากกว้าง หน้าดุ ก้นใหญ่ ตัวผู้จะก้าวเท้าซ้าย ส่วนตัวเมียจะก้าวเท้าขวา ถ้าบูชาไว้ที่ร้านหรือบ้าน ควรวางเป็นคู่ ตัวผู้รับทรัพย์ ส่วนตัวเมียจะเก็บทรัพย์

อิทธิคุณของปี่เซียะ

ปี่เซียะหรือกวางสวรรค์ มีชื่อเดิมว่า "เทียนลก" แต่คนส่วนใหญ่รู้จักในสำเนียงจีนกลางว่า "ปี่เซียะ" คนจีนมีความเชื่อว่า เป็นสัตว์มงคล เป็นลูกตัวสุดท้อง ( ตัวที่ 9 ) ของพญามังกร จะกินแต่เงินและทองเป็นอาหารเท่านั้น ปี่เซียะไม่มีรูทวารจึงกินอย่างเดียว ไม่ยอมถ่ายออก หมายถึงมีแต่เงินเข้าไม่มีไหลออก คนใช้จึงเฮงๆ รวยๆ ยิ่งขึ้น

เป็นสัตว์มงคลประเภทเรียกทรัพย์ บูชาแล้วจะทำให้ธุรกิจการค้าก้าวหน้าร่ำรวย รายได้ดี มีโชคดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง นำมาซึ่งเกียรยศชื่อเสียงมาให้กับผู้ศรัทธาเชื่อถือ ครอบครัวมีแต่ความสุขเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน

ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาะฮ่องกง และไต้หวัน ถ้าหากดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การเงิน การธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ หรือบ่อนพนัน นิยมสร้างปี่เซียะตั้งไว้ตรงประตูทางเข้า พ่อค้าแม่ค้า และผู้ที่ชอบเสี่ยงโชค นิยมตั้งไว้ที่หน้าร้านหรือพกพาติดตัว เชื่อกันว่าการเงินจะหลั่งไหลเข้าสู่ธุรกิจ ไม่มีการรั่วไหลออก และสามารถขจัดอาถรรพณ์ป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้

ตามหลักฮวงจุ้ยเชื่อว่า ยุค 8 คือ ธาตุดิน ( เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2566 ) มีนักกษัตรประจำธาตุดินคือ สุนัข ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้ายุคนี้คนจะหันมาเลี้ยงสุนัข หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุนัขจะประสบความสำเร็จ และสัตว์มงคลประจำธาตุดินก็คือ ปี่เซียะ

ธาตุดิน หมายถึง ดิน หิน แร่ธาตุ สิ่งที่อยู่บนเนินภูเขาสูง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าตีความหมายดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะเจริญในยุค 8 คือภายใน 20 ปีข้างหน้านี้ ก็หมายความว่า โซนตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จะเจริญในยุคนี้

เมื่อก่อนไม่มีใครรู้จักและนิยมบูชาปี่เซียะเพราะยังไม่ถึงยุค 8 แต่บัดนี้ถึงยุค 8 แล้ว คนจีนเชื่อว่าปี่เซียะคือสัตว์มงคลแห่งยุค 8 จะนำโชคลาภมาให้ตนและครอบครัว พร้อมกิจการค้าขายรุ่งเรือง จึงเสาะแสวงหาตัว " ปี่เซียะ" มาบูชาไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ใครมีไว้ถือว่าโชคดี ส่วยตัวปี่เซียะที่ทำมาจากเรซิ่น พลาสติก หรือหยกเทียม จะไม่มีพลังออกธาตุดินอยู่ในตัวมันเอง จึงไม่ได้รับความนิยม

คาถาและวิธีบูชา

ผู้บูชาปี่เซียะควรมีจิตใจแจ่มใสร่าเริง เพราะจะส่งผลให้ปี่เซียะมีพลังแกร่งกล้าและคึกคะนอง เมื่อเรามีความสุข ปี่เซียะจะมีความสุขไปด้วย ส่งผลให้มีโชคมีลาภ เก็บเงินอยู่ มีดอกผลเป็นกอบเป็นกำ เจ้าของควรเอาใจใส่ด้วยวิธีทำความสะอาด พูดคุยด้วยบ่อยๆ ลูบหัวและลูบบั้นท้าย คล้ายสัตว์เลี้ยง จะดีกว่าตั้งไว้เฉยๆ

ถ้าลูบที่ท้อง อานิสงส์ทางสมบูรณ์พูนสุข
ถ้าลูบที่หัว ทำให้มีปัญญาแจ่มใส
ถ้าลูบหลัง ทำให้มีโชควาสนา
ข้อห้าม ห้ามลูบปาก เพราะจะทำให้เก็บทรัพย์ไม่อยู่

คาถาบูชา
"อุอากาสะ ปี่เซียะ อานุภาโว เมตตาจิต ประสิทธิเม"
คำแปล
"ขออานุภาพปี่เซียะผู้มีความขยันมั่นเพียร รู้จักเก็บออม มีมิตรดีและใช่จ่ายไม่ฟุ่มเฟือย จงมีเมตตาจิตให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขความเจริญ" แล้วอธิฐานบอกกล่าวตามปรารถนา

ปี่เซียะนั้นให้คุณกับผู้ศรัทธาเชื่อถือ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง บูชาได้ทุกสาขาอาชีพ สำคัญมากตรงที่เป็นสัตว์ที่เสริมบารมีให้กับทุกราศีไม่มีชงกันเหมาะที่สุดสำหรับบรรดาผู้ต่อสู้อยู่กับความเสี่ยงทั้งหลาย โดยเฉพาะนักเสี่ยงโชค แต่เป็นสัตว์มงคลเฉพาะบุคคล เมื่อบูชาแล้วก็เป็นของคนๆ นั้น ( ของใครของมัน ) ห้ามยกให้ใครเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นเหมือนกับว่าเรายกโชคลาภของเราให้คนอื่น และเมื่อได้ปี่เซียะมาแล้ว หากเป็นไปได้ควรเข้าพิธีปลุกเสกประจุพลังเสียก่อน ถ้าไม่ปลุกเสกก็เป็นวัสดุตามหลักเบญจธาตุในวิชาฮวงจุ้ย

ส่วนคนจีนจะมีเคล็ดลับพิเศษ เมื่อได้ปี่เซียะมาแล้วจะทำพิธี เบิกเนตร วิธีการคือ นำมาแช่น้ำเกลือ โดยน้ำจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ น้ำร้อนและน้ำเย็นเท่าๆ กัน ( ความหมายคือหยินและหยาง ) แช่ไว้ให้ท่วมตัว ทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมง แล้วนำขึ้นมาใช้ผ้าสะอาดเช็ดที่ดวงตาทั้ง 2 ข้างก่อนเป็นการเปิดตา โดยถือปี่เซียะหันหน้าเข้าหาผู้บูชา ให้ปี่เซียะมองเห็นว่าเราคือ คู่บุญ แล้วเช็ดให้แห้งทั้งตัวยกเว้นปาก เพราะปากคือสิ่งสำคัญ เป็นทางเข้าของทรัพย์

เคล็ดลับ - ตั้งให้เด่น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ให้ตั้งเป็นคู่ โดยให้หันก้นชนกันเป็นรูปอักษรตัว V ทำเลที่ตั้งตัวปี่เซียะ คือ หันหน้าออกมองไปที่ประตูบ้านหรือร้านค้า เพื่อไม่ให้มีสิ่งใดมากีดขวางหนทางการกินทรัพย์

การแขวนปี่เซียะติดตัว - ควรแขวนแยกจากสร้อยที่คล้องพระ ไม่ปะปนกัน หรือให้ต่ำกว่าพระ โดยใช้สายสร้อยคนละเส้นแต่ห้ามใส่กระเป๋าสตางค์ ควรห้อยคอให้สัมผัสถูกตัวได้ ไม่ควรเลี่ยมปิดทั้งหมด

หลวงพ่อกวย ชุตินธโร


"หลวงพ่อกวย ชุตินธโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม เป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งของจังหวัดชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรุ่นเก่าอีกรูปหนึ่ง ของจังหวัดชัยนาท ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศ
“หลวงพ่อกวย” เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2448 ที่หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท  เป็นบุตรคนสุดท้องของ นายตุ้ย-นางต่วน เดชมา
“หลวงพ่อกวย ชุตินธโร” เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2467 ที่วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โดยมี พระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละ พระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร แปลว่า ผู้ตัดกิเลส
“หลวงพ่อกวย” จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้น หลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาส พระกวย หัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละโรคไข้ทรพิษ ศึกษาสรรพวิชาจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป ครั้งหนึ่งไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้เรียนวิชากับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้จักกัน คือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย
ต่อมา เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงกลับมาอยู่วัดบ้านแค สักยันต์ให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน หลวงพ่อกวยไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่สมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ดังนั้น วัดบ้านแคจึงมีแต่กุฏิเก่าๆ
“หลวงพ่อกวย ชุตินธโร” มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 เม.ย.2522 สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54 วัตถุมงคลที่หลวงพ่อกวยสร้างและปลุกเสกนั้น เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์และผู้ที่ศรัทธาว่า เป็นของดีมีพุทธคุณสูง มีประสบการณ์เป็นที่เล่าขานกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ และมีราคาค่านิยมสูงในวงการพระเครื่อง วัตถุมงคลของท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง อาทิ พระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ พระสมเด็จหลังรูปเหมือน พระแหวกม่าน พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก และเหรียญรุ่นแรก หลังยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ฯลฯ จึงล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง เพื่อนำมากราบไหว้ขอพรให้เกิดความสิริมงคลแก่ชีวิต
สามารถสักการะหลวงพ่อกวย ชุตินธโร ได้ที่วัดโฆสิตาราม(วัดบ้านแค) จังหวัดชัยนาท วัดนี้เป็นวัดที่ขึ้นชื่อและโด่งดังเรื่องวัตถุมงคลหลวงพ่อกวยเป็นพระเกจิดังของวัดนี้และโด่งดังมาก ขึ้นชื่อเรื่องของวัตถุมงคล ที่วัดโฆสิตารามมีลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อกวยมากราบไหว้ท่านกันเป็นจำนวนมากด้วยแรงแห่งความศรัทธา
ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังจนมีนักแต่งเพลงนำคาถาท่านไปเป็นเนื้อร้องจนโด่งดังในปัจจบันนี้
โอมสิทธิท้าวฟื้นเจริญศรี ให้ลูกมีคนรักคนเมตตา
ให้ลูกโด่งดังกับเขาเถิดหนา ชื่อเสียงก้องฟ้าคนรักมากมาย
ชีวิตลูกแย่ เลยมาวัดบ้านแควันนี้
พ่อกวยช่วยลูกทีอยากจะมีชื่อเสียงเหมือนเขา
ทำงานหลายปียังไม่พ้นจากความปวดร้าว
พ่อช่วยบรรเทาความทุกข์ในใจลูกที
วอนพ่อกวยช่วยดลให้คนรักคนเมตตา
มีวาสนาโด่งดังกับเขาสักที
ให้มีเงินมีทองมาล่อเลี้ยงครอบครัววันนี้
ฝากชีวีตัวลูกเป็นศิษย์สักคน
โอมสิทธิท้าวฟื้นเจริญศรี ให้ลูกมีคนรักคนเมตตา
ให้ลูกโด่งดังกับเขาเถิดหนา ชื่อเสียงก้องฟ้าคนรักมากมาย
โอมให้หน้ากูงามคือดั่งพระแมน
ให้แขนกูงามดั่งพระนารายณ์
ให้ฤทธิ์กูงามดั่งพระจันทร์ฉาย
สาวเมืองสวรรค์ยังอยู่บ่ได้เมื่อเห็นหน้ากู
วอนพ่อกวยช่วยดลให้คนรักคนเมตตา
มีวาสนาโด่งดังกับเขาสักที ให้มีเงินมีทองมาล่อเลี้ยงครอบครัววันนี้
ฝากชีวีตัวลูกเป็นศิษย์สักคน
โอมสิทธิท้าวฟื้นเจริญศรี ให้ลูกมีคนรักคนเมตตา
ให้ลูกโด่งดังกับเขาเถิดหนา ชื่อเสียงก้องฟ้าคนรักมากมาย
โอมให้หน้ากูงามคือดั่งพระแมน
ให้แขนกูงามดั่งพระนารายณ์
ให้ฤทธิ์กูงามดั่งพระจันทร์ฉาย
สาวเมืองสวรรค์ยังอยู่บ่ได้เมื่อเห็นหน้ากู

คาถาบูชา หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หรือ คาถาบูชาหลวงพ่อกวย สุปฏิปันโน พระเกจิดัง จังหวัดชัยนาท เป็นคาถาเอาไว้สวดขอพร ขอโชคลาภจากหลวงพ่อกวย
คาถาบูชาหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ อิติสุคะโต ชุตินฺธโร นะโมพุทธายะ นะสิวัง พรหมมามะอะอุ
(อย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าใคร) 
คาถาหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
โสทาโย นะโมนะมัสสกาโร โสทายะอิมังคาถา พุทธะมาเรโส ธัมมะมาเรโส สังคะมาเรโส

ปู่อือลือนาคราช

ตำนานปู่อือลือที่ข้องเกี่ยวกับบึงโขงหลงนั้น เชื่อว่า เกิดจากการล่มเมืองของพญานาค ซึ่งเกิดจากความรักที่ไม่สมหวังระหว่างพญานาคกับมนุษย์ ทำให้เมืองที่เจริญรุ่งเรืองล่มสลาย บริเวณแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งเมือง ชื่อ รัตพานคร มี พระอือลือราชา เป็นผู้ครองนคร มเหสีชื่อ นางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อ พระนางเขียวคำ ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสามพันตา มีพระโอรสชื่อ เจ้าชายฟ้ารุ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และมีรูปงามด้วย ขณะประสูติมีท้องฟ้าสว่างไสว

ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ นาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราชแห่งเมืองบาดาล ที่แปลงกายเป็นมนุษย์ การอภิเษกสมรสจัดกันอย่างมโหฬาร ทั้งเมืองบาดาล และเมืองมนุษย์ (รัตพานคร) ทำอยู่ 7 วัน 7 คืน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคราช กับ พระเจ้าอือลือราชา ในโอกาสนี้ด้วย

ทั้งสองอยู่กินกันมาเป็นเวลา 3 ปี ก็ไม่สามารถจะมีผู้สืบสายสกุลได้ (เพราะธาตุมนุษย์กับนาค) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสอง ต่อมาเจ้าหญิงนาครินทรานี ล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางที่เป็นมนุษย์กลายเป็นนาคตามเดิม โดยข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไปทั่วกรุงรัตพานคร

และถึงแม้นางจะร่ายมนตร์กลับเป็นมนุษย์ ประชาชนและพระเจ้าอือลือก็ไม่พอใจ จึงได้ขับไล่นางนาครินทรานีกลับสู่เมืองบาดาลดังเดิม โดยได้แจ้งให้พญานาคราชมารับตัวกลับ ก่อนกลับพญานาคราช ได้ขอเครื่องกกุธภัณฑ์ของตระกูลคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนให้ได้

เนื่องจากนำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น ทำให้พญานาคราชกริ้วมาก และประกาศว่าจะทำลายเมืองรัตพานคร และจะเหลือเอาไว้เพียง 3 วัดเท่านั้น หลังจากพญานาคกลับไป ในตอนกลางคืน พญานาคราชได้ยกไพร่พลมาถล่มเมืองรัตพานคร และประชาชนก็ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์นาคได้

พอนางนาครินทรานีทราบข่าว ก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง จนถึงแม่น้ำสงครามก็ไม่พบ จึงกลับเมืองบาดาล เมืองรัตพานครได้ถล่มเป็น "บึงหลงของ" ต่อมานานเข้าคำพูดก็กลายเป็นโขงหลง และวัดที่เหลือ 3 วัด ก็คือ วัดดอนแก้ว (วัดแก้วฟ้า) วัดดอนโพธิ์ (วัดโพธิสัตว์) และ วัดดอนสวรรค์ (วัดแดนสวรรค์) ทางที่นางนาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง คือ ห้วยน้ำเมา (เมารัก)

ส่วนพระอือลือราชา ไม่ได้สิ้นพระชนม์ไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ถูกพระยานาคราชจับตัวไว้ พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชากลายร่างเป็นนาค เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลงชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมีเมืองเกิดใหม่ในดินแดนแห่งนี้ จึงจะล้างคำสาปของพระยานาคราชได้

หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี

หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี โดย ครูจีรพันธ์ สมประสงค์

     ทุกๆ ปีที่ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พวกเราชาวคณะราษฎร์ฯ ทุกคน จะต้องพากันตั้งจิตน้อมรำลึกถึงหลวงปู่เทียน พระเกจิอาจารย์ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนเรา ท่านได้อนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดโบสถ์ 6 ไร่เศษ มาจัดสร้างเป็นโรงเรียนคณะราษฎร์ฯ ที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนกันมาจนทุกวันนี้

     จากวารสุทธาสิโนบล ฉบับนี้ จึงขอเขียนเล่าถึงชีวประวัติของหลวงปู่เทียนเอาไว้ เพื่อเตือนใจให้รำลึกถึงท่านและเพื่อเป็นข้อมูล ให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้เรียนรู้ ศึกษา พิจารณาชีวประวัติของท่าน ต่อไป

     หลวงปู่เทียน ท่านเป็นยอดเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากอีกองค์หนึ่งของจังหวัดปทุมธานี ท่านได้ให้การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองไว้หลายด้าน เช่น ได้สร้าง ปรับปรุง พัฒนาวัดในจังหวัดปทุมธานี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดโบสถ์ ซึ่งท่านจำวัดอยู่ให้เจริญก้าวหน้าและท่านยังไปร่วมสร้างวัดบ่อเงิน ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ท่านสร้างพระอุโบสถ โดยสร้างเหรียญรุ่นแรกหารายได้ในงานผูกพันธสีมา ที่วัดบ่อเงินนี้เอง ในปี พ.ศ. 2490 นอกจากนี้ หลวงปู่เทียนยังได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้กับพระภิกษุ สามเณร ได้เรียนพระปริยัติธรรมตลอดจนพระธรรมวินัย และนำเข้าสอบนักธรรมเป็นประจำทุกปี ทางด้านพัฒนาบ้านเมือง และการศึกษาของบุตรหลาน ท่านได้อนุญาตให้ใช้ที่ดิน 6 ไร่เศษของวัด จัดสร้างเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดปทุมธานี 1 หลัง ปัจจุบันก็คือ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานีและยังเป็นผู้ให้การอุปการะโรงเรียนการเรือนหญิง ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี และท่านยังได้สร้างโรงเรียนประชาบาลไว้อีกหนึ่งหลัง ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัดโบสถ์ (บวรธรรมกิจ) นั่นเอง คุณงามความดีในด้านการพัฒนาการศึกษาให้เกิดแก่เยาวชนนี้เอง ทำให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุโมทนาถวายพัดยศรูปราชสีห์ประคองพานรัฐธรรมนูญ ด้ามงา ปักด้วยดิ้นทอง ให้ไว้เป็นเกียรติยศแก่ท่าน

ประวัติหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี

     หลวงปู่เทียน นามเดิมชื่อ นายเทียน นามสกุลว่า ดุลยกนิษฐ์ เป็นบุตร นายน้อย และนางเล็ก ดุลยกนิษฐ์ เกิดที่บ้านปากคลอง ตำบลกระแชงมอญ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2419 ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด (ต้นรัชกาลที่ 5) มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 8 คน ตัวของหลวงปู่เทียนเองเป็นบุตรคนที่ 3 เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 11 ปี จึงได้เริ่มเรียนหนังสือภาษามอญ กับพระอธิการ ที่วัดชัยสิทธาวาท (พัฒนสายบำรุง) อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ศึกษาอยู่ไม่นานก็ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดโบสถ์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ได้เรียนหนังสือต่อกับท่านอาจารย์นวน จนอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้แตกฉานในด้านการคิดเลข ทั้งบวก ลบ คูณ หาร จนอายุท่านได้ 14 ปี จึงย้ายลงไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เข้าเรียนหนังสือไทยต่อที่โรงเรียนวัดมหาพุฒาราม จนสอบไล่ได้จบหลักสูตรของโรงเรียน

     เมื่อหลวงปู่เทียนอายุได้ 18 ปี ได้เข้ารับราชการเป็นทหารมหาดเล็ก เป็นอยู่ได้ 1 ปี ท่านก็ลาออกไปรับราชการใหม่เป็นเสมียนอยู่กับอธิบดีศาลอุทธรณ์ เป็นได้ 1 ปี จนอายุท่านได้ย่างเข้า 21 ปี ซึ่งถือว่าครบบวชแล้ว ท่านจึงได้ลาออกจากราชการ เดินทางกลับบ้านที่จังหวัดปทุมธานีนี้และเข้าทำการอุปสมบทที่วัดบางนา อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 โดยมีท่านเจ้าคุณพระรามัญมหาเถระ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ได้รับฉายาว่า “ปุบฺผธมฺโม” เมื่อทำการอุปสมบทแล้ว ได้ไปอยู่กับพระอุปัชฌาย์ที่วัดโบสถ์ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลี และภาษามอญ ซึ่งท่านมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว เรียนควบคู่กันไป หลวงปู่เทียนท่านได้ศึกษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์ตลอดมา



     หลวงปู่เทียนอยู่ที่วัดโบสถ์นี้มาจนได้ 6 พรรษา พระอุปชาฌาย์ของท่านคือท่านเจ้าพระรามัญมหาเถระก็ป่วยหนักด้วยโรคชรา และใต้มรณะภาพ ละสังขารไปด้วยโรคชรานั่นเอง รวมอายุท่านได้ถึง 92 ปี และในปีนั้นเองหลวงปู่เทียนก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอธิการวัดโบสถ์ปทุมธานีทันที เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 (ในราวตอนปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5)

พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน ปุบฺผธมฺโม)

     พ.ศ. 2457 หลวงปู่เทียนได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะตำบล ตำบลบ้านกลาง จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2469 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2477 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูกรรมการศึกษา พ.ศ. 2481 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท นาม “พระครูบวรธรรมกิจ” พ.ศ. 2502 ท่านได้รับพระราชทานพัดยศพิเศษ จ.ป.ร. พ.ศ. 2506 ท่านได้รับพระราชทานให้เลื่อนชั้นเป็นพระครูชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิมคือ พระครูบวรธรรมกิจ

     จนมาถึงวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 เวลา 02.00 น. หลวงปู่เทียนก็ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ รวมอายุท่านได้ถึง 89 ปี 8 เดือน 14 วัน และท่านได้อยู่ในสมณะเพศถึง 70 พรรษา นับเป็นการสูญเสียเกจิอาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดปทุมธานีไป ในขณะนั้น

สุดยอดพระเครื่องรางของขลัง และเกร็ดความรู้จาก “หลวงปู่เทียน”

     จากอดีตถึงปัจจุบันนี้ก็ตาม หลวงปู่เทียนยังนับเป็นสุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่ยังคงมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีคนเคารพนับถือมิเสื่อมคลายองค์หนึ่ง แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ด้วยท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ยึดมั่นในพระธรรมวินัย ให้การอบรมสั่งสอนแก่ศิษย์ และสาธุชนทั่วไปด้วยความเมตตา ท่านช่วยชี้ทางให้พ้นทุกข์ ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จึงมีผู้คนหลั่งไหลมาขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลังของท่าน ที่ท่านได้จัดสร้างขึ้นทุกวันในขณะนั้น เป็นจำนวนมากมาจากทั่วทุกสารทิศจนท่านปลุกเสกให้ไม่ทัน

     การสร้างพระเครื่องของหลวงปู่เทียน ท่านได้เริ่มการสร้างพระเครื่องจริงจังก็เมื่อตอนเกิดสงครามอินโดจีนนั้นเอง ในตอนนั้นท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายอย่าง มีทั้งพระเครื่อง พระผงสมเด็จ รวมทั้งเสื้อยันต์ ผ้าประเจียด ตะกรุด ลูกประคำ ฯลฯ จนถึงเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ญี่ปุ่นบุกเขาประเทศไทย พวกทหารไทยได้พากันมาขอเสื้อยันต์ของหลวงปู่ไปใช้จำนวนมาก ถึงขนาดต้องทำกันเป็นพันๆ ตัวเลยทีเดียว

     การทำเสื้อยันต์ของหลวงปู่เทียน ท่านต้องเขียนอักขระลงบนเสื้อทีละตัวๆ คือปากจะว่าคถาไป มือก็เขียนยันต์ไป เขาถึงเรียกว่า “การลงยันต์” จะใช้การพิมพ์เหมือนกับในปัจจุบันนี้ไม่ถูกต้อง

     ในด้านการสร้างพระสมเด็จเนื้อผงนั้น หลวงปู่เทียนเคยเล่าว่า ท่านได้สูตรการทำพระ และได้ส่วนผสมและวิชาการทำพระสมเด็จโดยการสอบถามมาจากท่านขุนอะไรคนหนึ่ง ท่านว่าจำชื่อท่านไม่ได้แล้ว แต่ท่านขุนคนนี้มีบิดาซึ่งเคยเป็นศิษย์ก้นกุฏิ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษีมาก่อน บิดาได้เล่าให้ท่านขุนฟัง และท่านขุนได้นำมาเล่าให้หลวงปู่ฟัง ทุกอย่างที่รู้หลวงปู่เทียนจึงได้นำเอาสูตรนี้มาจัดสร้างพระตามขั้นตอน และการใช้ส่วนผสมทุกอย่างเช่นเดียวกับส่วนผสมของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ดังนั้น พระสมเด็จเนื้อผงของหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ทุกรุ่น จึงมีคุณค่ามาก เทียบได้กับสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว

     ความที่ท่านขุนเล่าให้ฟังถึงสูตรการสร้างพระเครื่องวัดระฆัง ให้หลวงปู่เทียนฟังว่า พระสมเด็จเนื้อผงต้องทำด้วยผงดินสอพอง ผงวิเศษ ผงอิธะเจ ผงปัถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ผงตรีสิงเห ข้าวสุก กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมจันทร์ (ใส่ทั้งเปลือก) ผงเกษตร ดอกไม้ ว่านร้อยแปด ปูนขาว น้ำมันตังอิ้ว ขั้นตอนแรกคือ

     - ผงดินสอพอง ได้จากการเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ลงบนกระดานชนวนด้วยดินสอพอง แล้วลบออกเอาผงที่ได้มาใช้ผสม เพราะโบราณถือว่าอักขระเลขยันต์เมื่อเขียนแล้วจะไม่ลบทิ้งไปเฉยๆ เพราะเป็นหัวใจพระคาถาถือว่าพระพุทธวัจนะ จะทิ้งลงพื้นดินอันสกปรกไม่ได้ ต้องลบใส่ผอบหรือใส่ยาตรพระไว้ จึงจะถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติ

     - ผงวิเศษ เกิดจากการเขียนหัวใจพระคาถาหรือพระพุทธวัจนะต่างๆ ลงบนกระดานชนวนด้วยดินสอพองเช่นกัน เช่นทำผงอิสระเจ ท่านต้องท่องมนต์ และเขียนสูตรมุลกัจจายนะ คือ “อิธะเจตะโสทฬห หิตามะสา” ฯลฯ... อักขระเหล่านี้ ลบแล้วจะเก็บเอาผงใส่ผอบไว้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” มีอนุภาพทางเมตตามหานิยมยิ่งนักแล ผงปัถมัง ผงนี้จะได้จากการท่องมนต์คาถาและการเขียนพระพุทธปริต “ปถท” อิธโลโปจ ฯลฯ แล้วเขียนรูปยันต์ต่างๆ ตามไปด้วย เช่น ยันต์รูปองค์พระ ยันต์ย่อมุมทั้ง 7 เป็นต้น เมื่อเขียนยันต์เหล่านี้แล้วให้ลบเอาผงดินสอพองเก็บไว้ ผงที่ลบนี้เรียกว่า “ผงปัถมัง” มีอานุภาพ สามารถทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรีนะจังงัง ล่องหนหายตัวได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ผงมหาราช ผงนี้เกิดจากการทำผงปัถมง คือเอาผงจากการทำ “นะปัถมัง” ดังกล่าวมาปั้นเป็นแท่งอีกครั้ง ทิ้งให้แห้งจึงนำกลับไปเขียนอักขระเลขยันต์ตามสูตรมหาราชอีกครั้ง จนเต็มกำลังทั้ง 108 คาบ แล้วจึงลบเอาผงไว้ ผงที่ได้นี้เรียกว่า “ผงมหาราช” มีอานุภาพดีทางเสน่ห์มหานิยมยิ่งนัก ผงพุทธคุณ และผงตรีสิงเห ผงทั้งสองนี้ก็มีนัย การทำตามขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น เมื่อได้รวมผงทั้งหมดดังกล่าวมานี้เข้าได้ด้วยกัน จึงรวมเรียกว่า “ผงวิเศษ” อันเป็นเนื้อผงที่ผสมในพระพิมพ์สมเด็จของหลวงปู่เทียนที่ได้สร้างขึ้นทุกรุ่นด้วย

     - ข้าวสุก ต้องเป็นข้าวที่ได้มาจากการบิณฑบาตเท่านั้น โดยต้องนำมาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเก็บไว้ฉันท์ ส่วนหนึ่งไว้ให้ลูกศิษย์ส่วนหนึ่งให้เป็นทานกับนกกา และส่วนสุดท้ายเก็บเอาไว้ผสมทำพระพิมพ์ต่อไป

     - เกสรดอกไม้ และว่าน 108 อย่าง มีเกสรดอกไม้ทั้ง 7 อย่างเรียกว่า “สัตตบุษ” โดยได้มาจากดอกบัวบูชา นำมาใช้เฉพาะเกสรดอกบัวหลวง บัวขาว บัวขาบ บัวสัตตบงกช บัวสัตบุตร ฯลฯ เป็นต้น ด้วยดอกบัวเป็นดอกไม้วิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับพุทธดำเนินเมื่อคราวที่พระพุทธองค์ประสูตจากครรภ์มารดาที่ป่าลุมพินีนั่นเอง ส่วนว่าน 108 เป็นพืชที่จะต้องจัดหาและเก็บสะสมไว้ต้องใช้เวลานานจึงจะได้ครบถึง 108 อย่าง

     - ปูนขาว ต้องเป็นปูนขาวที่เก็บเอาเปลือกหอยที่มีอยู่ตามชายหาดมาเผาแล้วนำไปบดผสมเป็นเนื้อพระพิมพ์จึงจะทำให้พระมีเนื้อที่แข็งแกร่ง มีน้ำหนักดี ผิดกับพระพิมพ์สำนักอื่นๆ

     - น้ำมันตังอิ้ว นำมาตั้งไฟเคี้ยวให้ข้น แห้ง เหนียว จึงจะใช้ได้ดี นำไปผสมลงในเนื้อพระพิมพ์ โขลกให้เข้ากันด้วยน้ำมันตังอิ้ว จะทำให้ส่วนผสมที่ใส่ไปทั้งหมดยึดเกาะเกี่ยวกันอยู่ได้จนเป็นเนื้อเดียวกัน และยังทำให้พระพิมพ์ไม่แห้งเปราะ หักง่ายๆ อีกด้วย

     หลวงปู่เทียนเองทานเคยได้เล่าเรียนการทำผงวิเศษมาบ้างแล้ว จึงสามารถทำได้อย่างถูกต้อง เมื่อท่านได้สร้างพระพิมพ์ครั้งแรกๆ เป็นพระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงวิเศษประมาณ 20 -30 องค์ พวกลูกศิษย์ใกล้ชิดชอบใจนำเอาไปบูชา เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่กล่าวขวัญกันมาก ต่อมาก็เลยสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นมามากมายหลายพิมพ์ หลายขนาด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยการสร้างพระเครื่องต่างๆ ของท่าน ท่านจะให้ลูกศิษย์ไปหาว่าน 108 มาใช้ เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งพระเครื่องทั้งหมดของหลวงปู่เทียน ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง หรือพระนางพญา เนื้อดิน และพระอื่นๆ ล้วนแต่ทำด้วยเนื้อผงตามสูตรเดียวกันทั้งนั้น และที่สำคัญหลวงปู่ได้ทำการปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง ทุกๆ องค์ ทุกครั้ง นอกจากเนื้อพระสมเด็จของหลวงปู่เทียนจะมีชื่อเสียงโด่งดัง และมีพุทธคุณยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีตะกรุดสาริกาขนาดจิ๋ว ชนอดใส่ตาอยู่ได้ทั้งวัน โดยไม่มีการระคายเคืองตา ท่าจะทำตะกรุดนี้ ด้วยมือของท่านเองอีกเช่นกัน ดังนั้น พระสมเด็จฯ ของท่านนอกจากจะมีเนื้อเยี่ยมยอดด้วยพุทธคุณแล้ว ทุกองค์ยังมีตะกรุดฝังอยู่ใต้องค์พระ 2 ดอก เพิ่มอานุภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

พระเครื่องรุ่นสำคัญๆ ของหลวงปู่เทียน มีดังต่อไปนี้

     1. พระสมเด็จพุฒาจารย์ หรือพระสมเด็จรุ่นพิเศษ (รุ่น พ.ศ. 2506) เป็นพระเนื้อผงอิทธิเจ ปัถมัง ด้านหน้าเป็นรูปพระนั่งสมาธิอยู่บนฐาน 3 ชั้น ภายในซุ้มโค้งรูปเล็บมือแบบเดียวกับพระสมเด็จฯด้านหลังเป็นรูปนูนต่ำหลวงปู่เทียน(พระครูบวรธรรมกิจ) ท่านั่งสมาธิบนฐานภายในซุ้มกรอบกนกได้ฐานมีข้อความว่า “บวรธรรมกิจ” เป็นบรรทัดแรก ส่วนบรรทัดรองลงมาเป็นเลข พ.ศ. 2506 ใต้องค์พระขอบด้านล่าง มีฝังตะกรุด 2 ดอก เป็นตะกรุดสาริกา เมตตามหานิยมแบบใส่ตาได้หลายๆวันไม่ระคายเคือง นั่นเอง ขนาดองค์พระมีความกว้างประมาณ 3.8 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5 ซ.ม. ความหนาประมาณ 0.8 ซ.ม.

     พระสมเด็จพุฒาจารย์ รุ่นพิเศษ พ.ศ. 2506 นี้ พวกลูกศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือในองค์หลวงปู่เทียนได้นิมนต์ให้ท่านสร้างขึ้นเนื่องในงานกวนข้าวทิพย์ และหล่อรูปเหมือน และฉลองพัดยศเป็นพระครูชั้นเอก เมื่อวันที่ 2 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2506 โดยมีนายจรัส ธารีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและมีท่านเจ้าคุณธรรมานุสารี รักษาการเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อให้จองกันเองในงานนี้ จึงตกลงเป็นมูลค่า เพื่อนำไปบูชาองค์ละ 50 บาท และได้นำเงินนี้มาใช้เป็นค่าหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อ ซึ่งขณะนี้ประดิษฐ์ฐานอยู่ที่ด้านหน้าโบสถ์ ของวักโบสถ์

     สำหรับพุทธคุณของสมเด็จพุฒาจารย์ รุ่นพิเศษนี้จากการบอกเล่าของ ร.ต.ท.ฟ้อย ธนะนิมิตร แห่งสถานีตำรวจภูธรเมืองปทุมธานีว่า คนได้ทำการทดลองเอาไม้ขีด 2 กล่อง วางห่างกัน 4 นิ้ว แล้วเอาพระสมเด็จพุฒาจารย์รุ่นพิเศษของหลวงปู่เทียนวางละตรงกลาง จากนั้นเอาไฟจุดแต่จุดเท่าไหร่ก็ไม่คิด ทำอย่างนี้สลับกันถึง 2 ครั้ง ต่อหน้าผู้กำกับ พ.ต.อ.พิชัย สุคันธวานิช ขณะนั้น การทดลองจุดไฟนี้ผู้บังคับกอง พ.ต.ต.สละ พูนศิริ ก็ได้ทำการทดลองจุดไฟด้วยวิธีเดียวกับ ร.ต.ท.ฟ้อย ธนะนิมิตร ต่อหน้านายแบบอัยการจังหวัดปทุมธานีขณะนั้น  ไฟก็ไม่คิดอีกเช่นกัน

     พระสมเด็จพุฒาจารย์ รุ่นพิเศษ ของหลวงปู่เทียนนี้นอกจากจะกันไฟได้แล้ว ยังมีพุทธคุณในทางแคล้วคลาด ผู้กำกับคนก่อนของสถานีไปโดนรถชนมา ก็ไม่เป็นอะไรทั้งๆ ที่รถเข้าชนตรงด้านที่นั่งพอดี ซึ่งปรากฏว่ารถที่ถูกชนนี้เสียหายยับเยิน ร.ต.ต.อำนวย เจริญสุข นั่งจักรยานยนต์ซ้อนท้ายนายเคียง ถูกรถบรรทุกชนอย่างจัง ทั้งคู่กระเด็นไป 10 วา กลับไม่เป็นอะไรเช่นกัน ในทางคงกระพัน เถ้าแก่หยวนจากโรงฆ่าสัตว์ปทุมธานี ได้เอาพระรุ่นนี้ไปทดลองยิง แต่กลับยิงไม่ออกทั้ง 6 นัด แต่พอหันไปยิงทางอื่น กลับยิงออกทุกนัด

     ด้วยเหตุนี้เอง นายจรัส ธารีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีขณะนั้น จึงได้มีพระสมเด็จพุฒาจารย์ รุ่นพิเศษ ของหลวงปู่เทียนไว้บูชาถึง 24 องค์ ผู้กำกับกองมีถึงพิเศษ ของหลวงปู่เทียนไว้บูชาถึง 24 องค์ ผู้กำกับกองมีถึง 12 องค์ ผู้บังคับกองมีถึง 9 องค์ เถ้าแก่หยวนมีถึง 14 องค์ และนายตุ๊ ลูกชายเถ้าแก่หยวนเองก็มีถึง 14 องค์เช่นกัน

     2.  พระสมเด็จเนื้อผงพิมพ์เกศบัวตูม 3 ชั้น รุ่นไตรมาส (พ.ศ. 2507) ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิเกศบัวตูม ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น อยู่ในซุ้มวงโค้งรูปเล็บมือ ด้านหลังเป็นรูปลายเส้นภาพเหมือนของหลวงปู่เทียนนั่งสมาธิ ไม่มีซุ้มปรากฏ และทุกองค์ที่ลานเส้นจะต้องฉาบทอง ด้านล่างมีมีข้อความว่า “บวรธรรมกิจ” ความกว้างขององค์พระประมาณ 2.7 ซ.ม. ความสูงประมาณ 3.7 ซ.ม. ความหนาประมาณ 0.6 ซ.ม. ด้านล่างฝังตะกรุด 2 ดอกเช่นกัน

     3. เหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อทองแดงขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่เทียนครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฎิใต้รูปมีข้อความว่า “พระครูบวรธรรมกิจ 2490” ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งบนฐาน 7 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านบนมีข้อความว่า “ที่ระฤกในการผูกพัทธสีมา” ส่วนด้านล่างของพระพุทธรูปเป็นชื่อวัดบ่อเงิน เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นแรกที่สร้างในปี พ.ศ. 2490 เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเหรียญหนึ่งมากในขณะนี้

     4. เหรียญรุ่นที่ 2 ออกในวาระการทำบุญครบ 6 รอบ (72 ปี) ใน พ.ศ. 2491 เป็นเหรียญรุ่นแรกที่ออกที่วัดโบสถ์ จัดสร้างจำนวนน้อยมาก จะแจกให้เฉพาะในงาน เหรียญมีลักษณะรูปคล้ายๆ หยดน้ำ มีขอบหยักบนและล่างเล็กน้อย มีเส้นยกขอบ 2 เส้น เส้นนอกใหญ่เส้นในเล็ก มีหูเจาะในตัว มีเนื้อ คือเนื้อเงิน และเนื้ออลูมิเนียม ด้านหน้าเป็นรูปของหลวงปู่เทียนนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฎิ ด้านล่างมีข้อความว่า “พระครูบวรธรรมกิจ พ.ศ. 2491” ข้างๆ องค์หลวงปู่ช่วงข้อศอกมีอักขระข้างละ 2 ตัว ด้านหลังเหรียญเรียบ

     5. เหรียญรุ่น 3 พ.ศ. 2506 มีลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อทองแดงคล้ายรุ่นแรก แต่มีขนาดเล็กกว่าคือ มีความกว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. หลวงปู่เทียนท่านสร้างเหรียญรุ่นนี้ เมื่อ พ.ศ. 2506 ขณะท่านมีอายุ 87 ปี ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่เทียนครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฎิ ได้รูปมีข้อความ 2 บรรทัด บรรทัดบน “พระครูบวรธรรมกิจ” บรรทัดล่างเป็น “พ.ศ. 2506” ข้างเหรียญยกขอบเช่นเดียวกับรุ่นแรก ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ หูบายสี ประทับนั่งบนฐาน 7 ชั้น อยู่ภายในซุ้มโค้งรูปเล็บมือปัจจุบันเป็นเหรียญที่นิยมที่สุดของวัดโบสถ์ปทุมธานี

     6. เหรียญรุ่น 4 เป็นเหรียญที่สร้างออกในงานทำบุญฉลองอายุ 97 ปี ของหลวงปู่ใน พ.ศ. 2509 โดยมี พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร์ ศิษย์ใกล้ชิดเป็นประธานในการสร้างแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์เหรียญรุ่น 4 เป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่สร้างในขณะที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะเหรียญเป็นรูปวงรี รูปไข่ มีเนื้อทองแดงและเนื้อเงิน ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่เทียนครึ่งองค์ นูนต่ำห่มจีวรคลุม ขอบเหรียญเป็นเส้นขอบ 2 เส้น มีข้อความวนรอบเหรียญว่า “การทำบุญฉลองอายุ 91 ปี พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน ปุบฺผธมฺโม)” ด้านหลังเป็นยันต์มีอักขระ 4 ตัว คือ ว-พ-ธ-จ ใต้ภาษาไทยเป็นอักขระภาษามอญอ่านว่า “เวอะ เพอะ เจอะ” ใช้ดีในทางคลาดแคล้วและคงกระพันชาตรี ดียิ่ง

     นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องรางรุ่นสำคัญๆ แต่ส่วนมากหลวงปู่ท่านจะจัดสร้างไว้ จำนวนน้อยขึ้น เช่น

     7. พระสมเด็จ 9 ชั้น เนื้อผง

     8. รูปเหมือนเฉพาะใบหน้า ของหลวงปู่เทียนเนื้อผง

     9. พระนางพญา เนื้อดินเผา

     10. พระขุนแผน เนื้อดินเผา

     11. พระรอด เนื้อดินเผา

     12. พะรทุ่งเศรษฐี เนื้อดินเผา

     13. ตระกรุดสาริกา, ตระกรุดมหาอุด

     14. พระสมเด็จคะแนน จิ๋ว เนื้อผง เป็นต้น

บริเวณป่าช้าวัดสระเกศที่เต็มไปด้วยซากศพ

เกร็ดความรู้ ทางประวัติศาสตร์ ของหลวงปู่เทียน

     หลวงปู่เทียน ท่านเองมีความคุ้นเคยกับสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ (ราวปลายสมัยรัชกาลที่ 5) ตั้งแต่สมเด็จฯ ยังเป็น “มหาอยู่” หลวงปู่เทียนท่านเล่าเรื่องให้ฟังว่า ท่านต้องมาที่วัดสระเกศนี้บ่อยมาก เพราะต้องนำเอาพระ เณร มาฝากเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดสระเกศนี้ ท่านได้เล่าเกร็ดความรู้เรื่องแร้งที่วัดสระเกศไว้ว่า เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2443 ว่าขณะนั้นได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในกรุงเทพฯ มีผู้คนล้มตายไปมากมายหลายพันคน จนในแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนั้นเต็มไปด้วยซากศพ มีคนตายลอยน้ำเต็มไปหมด หลวงปู่ยังเล่าต่อไปอีกว่า เห็นแร้งที่วัดสระเกศเกาะกันอยู่เป็นฝูงๆ และมีบินอยู่บนท้องฟ้าเต็มไปหมดมันจะพากันลงกินซากศพอย่างเอร็ดอร่อย ทางวัดต้องทิ้งศพให้แร้งกิน โดยต้องตัดศพออกเป็นชิ้นๆ โยนให้แร้งกินจนเหลือแต่กระดูกเหล่านี้ไปเผา หรือฝังอีกที แต่กว่าสัปเหร่อจะมาเอากระดูกไปเผาหรือฝังก็หลายวัน เศษเนื้อที่ติดๆกระดูกอยู่จะส่งกลิ่นเหม็นตลบอบอวนไปหมดทั่วบริเวณวัดสระเกศ ส่วนแร้งที่กินอิ่มแล้ว ก็จะบินไปจับอยู่บนต้นไม้ใกล้ๆ กับที่ทิ้งซากศพนั่นเอง แร้งก็จะพากันปล่อยมูลลงมาบนพื้นขาวโพลนไปทั่วโคนต้นไม้นั้น

     คำบอกเล่าของหลวงปู่เทียนนี้ เป็นความรู้ช่วงหนึ่งที่สามารถใช้เป็นข้อมูลศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคนั้นที่บริเวณวัดสระเกศ ได้เป็นอย่างดี
แสดง  10 20 30
  • 1
  • 2
  • 11
  • 12