พยัคฆ์ขุนหาญ หลวงปู่แสน วัดบ้านหนองจิก

พยัคฆ์ขุนหาญ หลวงปู่แสน วัดบ้านหนองจิก (1 สินค้า)

แสดง  30 60 90
แสดง  30 60 90

ประวัติ หลวงปู่แสน ปสันโน

หลวงปู่แสน ปสันโน นามเดิมชื่อ แสน คุ้มครอง เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๑
ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านโพรง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์
(ปัจจุบัน ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ) บิดาชื่อ เอี้ยง และมารดาชื่อ ผัน คุ้มครอง มีพี่น้องรวม ๖ คน
เมื่อครั้งยังเด็กเป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัดบ้านโพรงและพี่ชาย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโพรงในสมัยนั้นให้การเลี้ยงดู
เรียนจบ ชั้น ป.๔ ต่อมาได้บรรพชาที่วัดบ้านโพรง และได้ไปศึกษาเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุม อินฺทปญฺโญ
วัดปราสาทเยอใต้ พระเกจิชื่อดัง ทั้งได้ศึกษาตำราพระเวททั้งภาษาขอมและภาษาธรรมด้วย
เดินทางไปมาระหว่างบ้านปราสาทเยอใต้และบ้านโพรง
กระทั่งอายุ ๒๑ ปี เข้าพิธีอุปสมบท และยังคงเรียนวิชากับหลวงพ่อมุม อินฺทปญฺโญ อย่างต่อเนื่อง
หลวงปู่แสน ท่านได้เอาใจใส่ฝึกฝน วิชาความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์
จนมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน
ครั้นอายุ ๒๔ ปี ได้ลาสิกขาเพื่อมาช่วยงานทางบ้านที่มีฐานะยากจนเป็น “หมอธรรม”
(ภาษาพื้นบ้านอีสาน หมายถึง ผู้เรียนคาถาอาคมทางพุทธเวทและไสยเวท อาจเป็นฆราวาสหรือพระภิกษุ
ที่ปฏิบัติตัวอยู่ในคุณธรรม มีศีลมีธรรม และช่วยเหลือผู้คนในชุมชนจนเป็นที่เคารพนับถือ) ได้ศึกษาอยู่กับ
หมอธรรมญา บ้านหนองหญ้าปล้องเป็นระยะเวลาหลายปีเพื่อรักษาคน ปฏิบัติธรรม
ช่วยเหลือคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขณะที่เป็นคาราวาส ยามเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม ก็ชักชวนเพื่อนหมอธรรมด้วยกัน
เดินทางไปเขมร เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม ได้พบพระผู้ใหญ่และพระอาจารย์จากทางเขมรมากมาย
โดยเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือและรักษาผู้คนเท่านั้น
อุปสมบทครั้งที่ ๒ เมื่อหมดภาระทางบ้าน กลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า
อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ยังคงปฏิบัติธุดงค์ มักออกธุดงค์ไปตามเทือกเขาพนมดงรักเป็นนิตย์
ต่อมาหลวงตาวัน สหธรรมิกรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัด โดยเจ้าคณะอำเภอกันทรลักษ์
อนุญาตให้หลวงปู่แสนไปอยู่ที่วัดอรุณสว่างวราราม (วัดบ้านกราม) แต่ด้วยท่านรักสมถะ ปีต่อมาจึงได้ย้ายมา
จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน) อยู่ถึง ๓ ปีงกระทั่งเห็นสภาพวัดบ้านหนองจิก
ที่จะกลายเป็นวัดร้าง เนื่องจากมีพระภิกษุจำพรรษาน้อยและไม่มีผู้ดูแลพัฒนา ท่านจึงย้ายจากสำนักสงฆ์โนนไทย
ไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิกและทำนุบำรุงวัดจนวัดมีพระเข้ามารับช่วงต่อ จำพรรษาอยู่เป็นเวลา ๔ ปี
โยมญาติจากวัดบ้านโพรง ที่ท่านบวชเป็นสามเณร เดินทางมานิมนต์ให้ไปจำพรรษาเพื่อช่วยพัฒนา
ซึ่งก็ได้รับความเมตตาไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพรง ทำนุบำรุงวัดจนเจริญขึ้น
พออายุย่างเข้า ๙๓ ปี ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น จนเมื่อหลวงปู่แสน อายุ ๙๗ ปี
ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพ จึงพาชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านหนองจิก จนถึงทุกวันนี้
ด้วยหลวงปู่ล่วงวัยชรา มีอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ ๒ และป่วยด้วยโรคหัวใจ กระเพาะลำไส้
ปอดติดเชื้อ ญาติพี่น้องและคณะศิษย์ นำหลวงปู่ไปเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ ร.พ.กันทรลักษ์และร.พ.ศรีสะเกษมาอย่างต่อเนื่อง
ต่อมา พักรักษาอยู่ที่ตึกสงฆ์อาพาธ ร.พ.ศรีสะเกษ ซึ่งคณะแพทย์ให้การ รักษาพยาบาลอย่างสุดความสามารถ
แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้วและร่างกายอ่อนเพลียอย่างหนัก จึงนำกลับมาพำนักที่วัดบ้านหนองจิก
ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๒๒.๒๔ น. ที่กุฏิภายในวัดบ้านหนองจิก สิริอายุรวม ๑๑๒ ปี
วัตถุมงคลของหลวงปู่แสน ไม่ได้จัดสร้างบ่อยนัก นานครั้งในวาระพิเศษ ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ศิษย์ใกล้ชิดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ
ทำให้มีจำนวนไม่มากรุ่น แต่ได้รับความนิยมสูง อาทิ เหรียญเสมาครึ่งองค์หลวงปู่แสน รุ่นเจ้าสัวแสนนิยม, พระสมเด็จหล่อโบราณ รุ่นเจริญลาภ,
พระกริ่งมหาโภคทรัพย์ เป็นต้น

*คาถาเมตตามหานิยม หลวงปู่แสน ปสันโน*

นะเมตตาโมกรุณาพุทธปราณี ธายินดียะประเสริฐเลิศไกลโมจับจิตร นะจับใจธารักใคร่ยะมนุษสาหญิงชายทั้งหลายเหหิจิตตังปิยังมะมะ นะ ออนใจ รัก นำ ทรัพย์สิน เงินทอง มาชูกู เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา (ลือ ลือ)

*เป็นภาษาโบราณ เป็นคาถา เร่งให้มีลาภเร็วขึ้น เป็นมหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก

*คาถาแคล้วคลาด หลวงปู่แสน ปสันโน*

พุทธังแคล้วคลาด

ธัมมังแคล้วคลาด

สังฆังแคล้วคลาด

อิติปิโสภะคะวา