พระกำแพงสามขา วัดพระบรมธาตุพระอารามหลวง (3 สินค้า)

แสดง  30 60 90
แสดง  30 60 90




พระกำแพงสามขา วัดเสด็จประวัติศาสตร์เมืองชากังราวเมืองกำแพงเพชร ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ
ให้เป็นเมืองมรดกโลก ร่วมกับสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ย่อมแสดงถึงความสำคัญของเมืองกำแพงเพชรที่โลกยกย่องว่ามีอารยธรรม
วัฒนธรรม และศิลปกรรมอันสูงส่ง มีค่าล้ำมีความเป็น อัตลักษณ์ของตนเอง กำแพงเพชรจึงมีพระพุทธรูปที่ล้ำค่าและมีพุทธศิลป์เป็นของตนเอง
อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของเมืองกำแพงเพชร เมืองมรดกโลก พระบูชาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะเมืองกำแพงเพชร คือ “พระกำแพงสามขา”
พุทธลักษณะของพระกำแพงสามขา ที่พบส่วนใหญ่เป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ขวาพระองคุลีทั้ง 5 ไม่เท่ากัน
เหมือนมนุษย์ธรรมดา พระดัชนีชี้ลงล่างราวให้แม่พระธรณีเป็นพยาน ในคราวปราบพญามาร พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาหงายพระหัตถ์แผ่งดงาม
พระวรกายงดงามพระอุระนูน พระอุระใหญ่เม็ดพระถันเห็นได้ชัดแม้ข้างซ้ายจะปกคลุมด้วยจีวร แต่ก็เห็นได้ชัด ราวไม่ได้สวมจีวรกระนั้น
บั้นพระองค์คอดงดงามสังฆาฏิ ด้านหลังยาวจรดฐาน ด้านหน้า ยาวจรดพระนาภี อยู่ท่ามกลางพระถัน เบี่ยงมาทางซ้าย พระศอมี รอยหยัก
พระหนุเสี้ยม พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระโอษฐ์ แย้มยิ้มน้อยๆ เหมือนทรงเมตตา กับมวลพุทธศาสนิกชน พระขนงชิดติดกัน โก่งราวคันศร
ที่กำลังน้าวยิง พระเนตรมองลงล่างเล็กน้อย งดงาม พระนาสิกเป็นสันงามสมกับพระพักตร์ พระกรรณยาวเกือบถึง พระอังสา แนบพระพักตร์
พระศกเม็ดเล็กงดงาม สมกับขนาดพระเศียร เปลวเพลิงเหนือพระเศียรสูง งดงามกว่าพระบูชาทุกแบบ ฐานงดงาม มีความสูงเหมาะกับขนาดของพระกำแพงสามขา
ซึ่งนับว่า น่าชมที่สุดในบรรดาพระบูชาของเมืองกำแพงเพชรทุกแบบ พระกำแพงสามขา จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของพระบูชาในเมืองกำแพง ที่ผู้คนที่ชื่นชอบ และสนใจพระบูชา แสวงหาที่จะได้บูชากันทุกคน พุทธคุณพระกำแพงสามขา ชาวเมืองกำแพงเพชรเชื่อว่ามีพุทธคุณแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม พระกำแพงสามขา
มีความหมายต่อผู้บูชา เพื่อแสดงว่าเป็น พระกำแพง เป็นคนกำแพง และเป็นของดีเมืองกำแพงเพชร

คาถาบูชาพระกำแพงสามขา ดังนี้ (ตั้งนะโม 3 จบ)
“พุทธังอาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง พุทธัง ประสิทธิเม ธัมมังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม
นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ มะอะอุ อุอากาสะ นะชาลีติ สัพเพชะนา พะหูชะนา มหาลาภัง ภะวันตุเม”

สำหรับประวัติพระกำแพงสามขา ในอดีตครั้งสมัยอาณาจักรสุโขทัยยังรุ่งเรือง มีกำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านมีการ
จัดสร้างพระพุทธรูปตามวัดวาอารามต่างๆ และพระบูชาจนมีเอกลักษณ์พิเศษ เรียกกันว่า“พระยุคสมัยสุโขทัย”
ส่วนพระกำแพงสามขานั้น สร้างในสมัยสุโขทัยยุคกลางคือ ทำตามแบบสุโขทัย ตอนต้นโดยแก้พระพักตร์เป็นรูปไข่
พระเกศเป็นปลายอุณาโลมให้ยาวขึ้น ฐานเขียงก็เพิ่มเป็นฐานมีขายื่นออกมาเป็น 3 ขาคือ แต่เดิมเป็นพระฐานเต็มคือ
มีลักษณะเป็นฐานทึบ ไม่มีขายื่นออกมา พระศกบางองค์ทำขมวดก้นหอยแหลมคล้ายหนามขนุน
พระกำแพงสามขา ในอดีตเป็นพระเมืองสุโขทัยในยุคสมัยพระร่วงเจ้า และได้สืบ ต่อมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
นับเป็นพระที่มีความงดงามในยุคสมัยสุโขทัยต่อมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงส่ง พระราชโอรสมาปกครองเมืองกำแพงเพชร
โดยมีพระนามว่า “พระเจ้าลิไท”พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
พระองค์จึงได้ให้ช่างหลวงและช่างราชจัดสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา โดยให้ผิดแปลกจากสุโขทัย กล่าวคือ
ให้มีพุทธลักษณะที่งดงามไม่แพ้พระสุโขทัย โดยมีการปรับปรุงฐานพระเสียใหม่คือ เป็นแบบขาโต๊ะหรือเรียก
ตามชื่อจังหวัดกำแพงเพชร ว่า “พระกำแพงขาโต๊ะ”
พระกำแพงสามขา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิขนาดเล็กที่มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นอยู่ที่ฐานรองรับพระพุทธรูปทั่วๆไป
กล่าวคือ มี 2 แบบคือ สามขา และสี่ขา แต่ที่นิยมมากคือ แบบสามขาพระกำแพงสามขา จัดได้ว่าเป็นพระบูชาในอดีตที่มีพุทธลักษณะ
และพุทธศิลป์ที่งดงามหา พระที่เปรียบได้ยากทรงไว้ด้วยพุทธคุณในทุกด้าน ซึ่งทุกบ้านควรจะมีไว้บูชาและสักการะเป็นอย่างยิ่ง
แต่เนื่องจากเวลาได้ล่วงเลยผ่านมา เนิ่นนานแล้ว พระรุ่นเก่าที่มีความงดงามสมบูรณ์เป็นที่หายากยิ่ง จึงต้องยกให้เป็นอีกเอกหนึ่ง
ของเมืองกำแพงเพชรหรือเป็นพระ “คู่บ้านคู่เมือง” ของจังหวัดกำแพงเพชรก็ว่าได้