ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022

ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022 (44 สินค้า)

แสดง  30 60 90
  • 1
สีผึ้งสาริกา คุ้มนะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สีผึ้งสาริกา คุ้มนะหน้าทอง
฿ 500
สีผึ้งนะหน้าทอง คุ้มนะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สีผึ้งนะหน้าทอง คุ้มนะหน้าทอง
฿ 300
สีผึ้งอิ่นคู่ คุ้มนะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สีผึ้งอิ่นคู่ คุ้มนะหน้าทอง
฿ 500
สีผึ้งม้าเสพนาง คุ้มนะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, ส่งดวง ส่งเคราะห์ ส่งท้ายปีเก่า เปิดรับสิ่งดีๆ ปี 2022
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สีผึ้งม้าเสพนาง คุ้มนะหน้าทอง
฿ 500
แสดง  30 60 90
  • 1
การส่ง หรือพิธีกรรมในการสังเวยตามแบบล้านนา เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น เช่น ความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย ประสบเหตุ เช่นไฟไหม้บ้าน หรือมีเคราะห์ร้ายต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าอาจมีสาเหตุเนื่องจากถูกผีหรืออำนาจอื่นกระทำ การแก้ไขอย่างหนึ่งคือ การส่งหรือการสังเวยแก่เทพหรือผีนั้นๆ โดยตรงเพื่อจะได้พ้นจากสภาพที่เลวร้ายนั้นได้ ซึ่งพิธีส่งมีหลายชนิด เช่น ส่งขึด ส่งกิ่ว ส่งผีส่งเทวดา ส่งเคราะห์ ส่งแถน ส่งหาบ และส่งคอน การส่งเคราะห์บุคคลที่ถูกใส่ความ ประสบอุบัติเหตุ เป็นไข้ ค้าขายขาดทุน ทำงานมักผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายบ่อย เป็นต้น ถือว่าบุคคลผู้นั้นมีเคราะห์มากระทบ การส่งเคราะห์จะทำให้เคราะห์ทั้งหลาย ตกไปได้ ซึ่งในพิธีกรรมการส่งจะมีเครื่องประกอบพิธีกรรมและคำสังเวยแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของการส่ง เครื่องบัตรพลี หรือเครื่องเซ่นในการส่งเคราะห์ประกอบด้วย ๑. เครื่องแสดงความยกย่อง ประกอบด้วย ข้าวตอกดอกไม้ ธูป เทียน ๒. เครื่องประกอบยศ ซึ่งมี ช่อ (ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก) และ ตุง (ธงตะขาบ) ทั้งนี้อาจมีฉัตรทำด้วยกระดาษเล็กๆ ด้วยก็ได้ เทียนค่าฅิง (เทียนสูงเท่ากับความสูงของเจ้าชาตา) สีสายหรือสายน้ำมันค่าฅิง (ไส้เทียนยาวเท่าตัวเจ้าชะตา) ผ้าขาว ผ้าแดง ห่อเงิน ห่อคำ(ทอง) เป็นต้น ๓. อาหารและเครื่องขบเคี้ยว ประกอบด้วย แกงส้ม แกงหวาน ข้าว ขนม มะพร้าว กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ ๔. เครื่องสังเวยตามวัตถุประสงค์ เช่น ดินหรือแป้งที่ปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ๕. เครื่องทานประกอบเช่น สัตว์สำหรับปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์ หน่อกล้วย หน่ออ้อย ไม้ค้ำต้นโพธิ์ เป็นต้น ๖. การจัดชุดของเครื่องสังเวย ตลอดถึงการจัดวางเครื่องบูชาเมื่อเสร็จพิธี ๗. คำโอกาสหรือคำกล่าวในการสังเวย เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการสังเวยนั้นๆ ๘. สะตวง หรือกระทงสำหรับใส่เครื่องบัตรพลีหรือเครื่องเซ่น ในการทำสะตวงสำหรับพิธีส่งเคราะห์นั้นมีวิธีการทำคล้ายกับสะตวงที่ใช้ในพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ต่างกันที่ขนาดของสะตวงส่งเคราะห์จะมีขนาดใหญ่กว่า และบางครั้งอาจจะเป็นสะตวงแบบเก้าห้อง และที่ต่างกันอีกประการหนึ่งคือที่ก้นสะตวง ก่อนที่จะใส่เครื่องบัตรพลีลงไปนั้น สะตวงที่ใช้ในพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่มักใช้กระดาษหรือใบตองรองพื้น สำหรับสะตวงส่งเคราะห์จะใช้ใบโจค หรือใบโชค ใบค้ำ ใบขนุน และใบมะยมในการรองพื้น ทั้งนี้มีความเชื่อว่าใบไม้ทั้งสามชนิดนี้เป็นมงคล ช่วยในการค้ำจุนหนุนนำ เป็นที่นิยมชมชอบและรักใคร่ของผู้คน และทำให้มีความโชคดีด้วย ๙. เครื่องคำนับครูของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีซึ่งมักจะประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียน หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ และเงินตามอัตรา ทั้งนี้การจัดอุปกรณ์ในพิธีอาจจัดวางบนจานสังกะสี ใส่พาน ใส่ฅวัก คือ กระทง ใส่สะตวง คือ กระบะบัตรพลีทำด้วยกาบกล้วยหรือวางบนตะแกรงไม้ไผ่สานก็ได้ ธง หรือเรียกอีกอย่างว่า จ้อ เป็นธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก เสาธงใช้ไม่ไผ่เหลากลมแหลม ผืนธงจะใช้ผ้าหรือกระดาษก็ได้ ถือเป็นสัญลักษณ์ในการอันเชิญเทวดาให้มารับรู้ในการประกอบพิธีกรรม จ้อของแต่ละคนที่เข้าร่วมพิธีกรรมจะมีสีแตกต่างกันออกไป และแต่ละสะตวงจะมีร่มกระดาษ จำนวน ๑ คัน การทำพิธีส่งเคราะห์นั้น เริ่มจากการจัดเตรียมสะตวงเครื่องเซ่น หรือเครื่องบัตรพลีตามการส่งแต่ละอย่าง ส่วนมากพ่อหนาน หรืออาจารย์ซึ่งผ่านการบวชเป็นพระมาแล้ว ซึ่งเป็นผู้มีวิชาความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมหรือผู้ซึ่งมีวิทยาคม เป็นผู้จัดเตรียม บางหมู่บ้านจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ช่วยกันเตรียม ผู้ชายจะเป็นคนจัดทำสะตวงหรือกระทงกาบกล้วย การปั้นรูปสัตว์ต่างๆ ส่วนผู้หญิงจะเตรียมข้าวของ แกงส้ม แกงหวาน อาหารต่างๆ ใส่ลงไปในสะตวง การเตรียมการเหล่านี้มักทำกันล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน เมื่อถึงการประกอบพิธีการส่งเคราะห์ พ่อหนานผู้ประกอบพิธีจะเริ่มจากการบูชาขั้นตั้ง หรือขึ้นขันตั้ง เพื่อรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ก่อน จากนั้นเจ้าชะตา คนป่วยหรือกลุ่มคนที่จะทำการส่งเคราะห์มานั่งด้านหน้า จากนั้นอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะอ่านโองการส่งเคราะห์ ตามแบบโบราณซึ่งเขียนเอาไว้ในปั๊บสา หรือคัมภีร์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูอาจารย์ การส่งเคราะห์นั้นมีทั้งส่งเคราะห์เดี่ยว ซึ่งส่วนมากจะเป็นการส่งเคราะห์ให้เจ้าชะตาที่เจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุเพียงคนเดียว ส่วนการส่งเคราะห์อีกแบบหนึ่งเป็นการส่งเคราะห์แบบหมู่คณะ เช่นการส่งเคราะห์บ้านเป็นต้น