เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา

เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา (33 สินค้า)

แสดง  30 60 90
  • 1
สี่หูห้าตาโชคดี มีห่วง นะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สี่หูห้าตาโชคดี มีห่วง นะหน้าทอง
฿ 599
สี่หูห้าตาโชคดี นะหน้าทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สี่หูห้าตาโชคดี นะหน้าทอง
฿ 599
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบเงิน - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบเงิน
฿ 3,999
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบพิ้งโกลด์ - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบพิ้งโกลด์
฿ 3,999
เหรียญยี่กอฮง เนื้อผงขาวปิดทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เหรียญยี่กอฮง เนื้อผงขาวปิดทอง
฿ 300
แหวนสี่หูห้าตา หน้าสิงโต เนื้อเงิน - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
แหวนสี่หูห้าตา หน้าสิงโต เนื้อเงิน
฿ 800
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบทอง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
สี่หูห้าตามหาเพชร ชุบทอง
฿ 3,999
เหรียญสี่หูห้าตามีห่วง เนื้อเงิน - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เหรียญสี่หูห้าตามีห่วง เนื้อเงิน
฿ 800
ลอยองค์สี่หูห้าตา เนื้อทองเหลือง - อาจารย์สุบิน คุ้มนะหน้าทอง, เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ลอยองค์สี่หูห้าตา เนื้อทองเหลือง
฿ 300
แสดง  30 60 90
  • 1

อาจารย์สุบิน นะหน้าทอง
คุ้มนะหน้าทอง ตั้งอยู่ซอยวัดลาดปลาดุก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งไม่ไกลจากกรุงเทพเลย
ตามตำนานของวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จ.เชียงราย เชื่อกันว่า แมงสี่หูห้าตามีลักษณะตัวอ้วนและเตี้ย มีกายภาพอย่างหมี และมีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหูสองคู่และมีตาห้าดวง โดยที่ดวงตาของแมงสี่หูห้าตาเป็นสีเขียว รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และมูลของแมงสี่หูห้าตานี้เป็นทองคำ
ในขณะที่ตามตำนานแมงสี่หูห้าตาที่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา แห่ง จ.ลำพูน เขียนขึ้น ว่า ลักษณะของแมงสี่หูห้าตาไว้อีกแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะคล้ายลิง และเรียก "พญาวานรสี่หูห้าตา" กับทั้งยังได้เชื่อมโยงสัตว์นี้เข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้วย โดยว่าจำนวนสี่หูและห้าตานั้นที่แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ และ ศีล ๕
การสร้างสี่หู ห้าตา (พระอินทร์จำแลง กินไฟถ่ายเป็นทอง) สร้างขึ้นจากนิทานพื้นของชาวล้านนาเล่าขานกันมาว่า กาลครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มกำพร้าผู้หนึ่งฐานะยากจนขัดสนมาก มีที่ดินทำกินเพียงน้อยนิดไว้สำหรับปลูกข้าว มีอยู่ปีหนึ่งเกิดความแห้งแล้งต้นข้าวที่ปลูกไว้แห้งตายไปมากพอสมควร มีพระอินทร์บนสวรรค์องค์หนึ่งซึ่งมองเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชายหนุ่มผู้นี้ จึงอยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ยาก จึงจำแลงกายมาปรากฏเป็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง ซึ่งมีหูสี่หู มีดวงตาห้าดวง มาทำลายต้นข้าวในนา บังเอิญชายหนุ่มได้มาพบเห็น จึงเกิดความโมโห คิดจะฆ่าสัตว์ตัวนี้แต่ก็ไม่มีอาวุธใดทำร้ายได้ จึงคิดหาวิธีดักจับจนกระทั่งจับได้ จึงนำมาผูกติดไว้กับต้นเสากระท่อมที่พัก
พอตกเย็นชายหนุ่มก็ได้นำอาหารมาให้สัตว์ประหลาดตัวนั้นกิน แต่มันไม่ยอมกินอาหารแต่อย่างใด กลับยืนตัวสั่นดูเหมือนว่ากำลังหนาวจัด คงต้องการความอบอุ่น ชายหนุ่มจึงหาฟืนมาก่อไฟให้มัน และในขณะที่ชายหนุ่มจะเข้าพักผ่อนภายในกระท่อมเห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้นกำลังจับถ่านไฟก้อนแดงๆ ที่กำลังร้อนจัดกินเข้าไป อย่างไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด จนกระทั่งชายหนุ่มเผลอหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็ต้องตกตะลึง เมื่อพบว่าสัตว์ประหลาดที่กินถ่านไฟก้อนแดงๆ เข้าไปได้ถ่ายออกมาเป็นทองคำ ชายหนุ่มกำพร้าจึงนำทองคำไปขายจนเกิดความร่ำรวย จึงได้ข้อคิดว่า ถ้าชายหนุ่มกำพร้าใจร้อนฆ่าสัตว์ประหลาดตายเขาก็คงยากจนเหมือนเดิม คงเป็นเพราะมีความเมตตาที่คิดละเว้นชีวิตต่อสัตว์ประหลาดตนนั้น ถึงแม้จะเกิดความโมโหที่สัตว์ประหลาดมาทำลายต้นข้าวในนา ดังนั้นอยากให้ทุกคนหมั่นรักษาศีล ภาวนาให้มากๆ และมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าคนเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ชีวิตเราจะพบแต่ความสุขตลอดกาล
วิธีบูชาสี่หูห้าตา (พระอินทร์จำแลง) ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณพระอินทร์เทพจำแลงสี่หู ห้าตา และสงบจิตแล้วภาวนาพระคาถาว่า
"พุทโธ อยู่หลัง พุทธัง อยู่หน้า ตัวข้า อยู่กลาง เวเวสิ...(ใช้ป้องกันภัย) ระตะนัง ปุระโต อาสิ...(ใช้เสกของกินดีมาก)มหาลาโภ ภะวันตุเม...(ใช้ขอลาภ) อิติปิโส ภควา เงินทองไหลมา อิติปิโส ภควา เงินคำไหลมา อิติปิโส ภควา เงินทองและเงินคำไหลมา เทมา หาข้าพเจ้าเสมอ"
ถือว่าเป็นฆราวาสพุทธไสยาเวทย์ “เข็มตะเกียบทอง” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ลูกหาทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับ “อ.สุบิน นะหน้าทอง” จากบรรชิตศิษย์ตถาคตผู้เรืองเวทย์ “ครูบาสุบิน สุเมธโส” พระเกจิแผ่นดินล้านสู่เกจิฆราวาสผู้เปิดตำนาน “ลงนะหน้าทองเจิมสิริมงคล 9 จุด” ผู้เรืองเวทย์วิเศษแห่งยุค
หนึ่งในศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นั่นคือ ศาสตร์การสร้าง “เทพอินทร์แปลงสี่หูห้าตา” กับ “หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา” ซึ่งล่าสุด อ.สุบินได้ถ่ายทอดมาเป็นไพ่ปฐมบททำนายดวงชะตา “เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา” ซึ่งนับได้ว่าเป็นสำรับแรกของโลก โดย 1 สำรับมี 44 ใบ อ.สุบินได้ออกแบบรูปภาพไว้อย่างสวยงาม
นอกจากนี้ อ.สุบิน ยังได้จัดทำคู่มือประกอบการอ่านไพ่พยากรณ์ปฐมบท ”เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา” ไว้อย่างละเอียด ซึ่งมีทั้งคำสำคัญ การแปลความหมาย และ ระบบอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยผู้สนใจศึกษาจะต้อง...เชื่อมั่นในตัวตน เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นในสิ่งที่เชื่อ และ ดวงชะตาฟ้าลิขิต...ทั้งนี้ในการวางไพ่ทำนายจะใช้แบบเซลติกครอส จำนวน 10 ใบ แทน 10 ตำแหน่ง ดังนั้น 1. ดวงเจ้าชะตา 2. สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบเจ้าชะตา 3. ความคิดของเจ้าชะตา 4. อดีตบริวาร ความรอบข้าง ที่เปลี่ยนแปลง 5. อดีตฐานะ คนอุปถัมภ์ 6. อนาคนอันใกล้นี้ 7. ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น 8. คนรอบข้างเจ้าชะตา หรือ ปมในใจที่มีปัญหา 9. ปมในใจของเจ้าชะตาที่เปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และ 10. บทสรุปของชีวิต
สำหรับ “เทพอินทร์แปลง สี่หูห้าตา” หรือ “แมง 4 หู 5 ตา” ที่ชาวเหนือให้ความเคารพและความศรัทธา นั้น มีประวัติความเป็นมาคือ พระอินทร์ได้แปลงรูปลงมาเป็นสัตว์ประหลาดรูปร่างพิเศษ ที่มีหู 4 หู และมีดวงตา 5 ดวง เพื่อมาช่วยเหลือผู้ที่ประกอบความดีมีเมตตา
อ.สุบิน เล่าว่า ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านได้กล่าวไว้ว่า ที่พระอินทร์จำแลงแปลงกายลงมานั้น มีสี่หูห้าตา เป็นเสมือนกุศโลบายหมายความว่า 5 ตา หมายถึง การรักษาศีล 5 ให้หมั่นเจริญปฏิบัติภาวนา ส่วน 4 หูนั้น หมายถึง พรหมวิหาร 4 ประกอบได้ด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าหากเราสามารถปฏิบัติตนได้จะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ร่ำรวยเงินทอง จะไม่พบกับคำว่า อดอยาก ยากจน ยากไร้ อย่างแน่นอน
“ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ยังได้กล่าวด้วยว่า ก่อนที่จะบูชาต้องมีความศรัทธาก่อน ไม่ใช่เห็นคนอื่นบูชาเราก็บูชาตาม ให้เกิดจากความศรัทธา เมื่อใจเราศรัทธาเราก็ต้องปฏิบัติดี นั่งสมาธิ มีเวลาก็หมั่นทำบุญ สวดมนต์ อุทิศบุญกุศลให้เทวดาที่ปกปักรักษาตัวเรา ให้กับสิ่งที่เรามองไม่เห็น ไม่ว่าด้วยเหตุใด ถ้าเราทำดี สิ่งดี ๆ ย่อมคุ้มครองเรา”