เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่าี้

เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า (34 สินค้า)

แสดง  30 60 90
  • 1
ตะกรุตเบี้ยแก้ เบี้ยกัน - วัดโคกเลาะ จ.อำนาจเจริญ, เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ตะกรุตเบี้ยแก้ เบี้ยกัน
฿ 399
เบี้ยแก้ เบี้ยกัน หุ้มเงิน - วัดโคกเลาะ จ.อำนาจเจริญ, เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เบี้ยแก้ เบี้ยกัน หุ้มเงิน
฿ 999
เบี้ยแก้มหาอิทธิฤทธิ์ หลวงปู่ถ้า - หลวงปู่ถ้า, เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เบี้ยแก้มหาอิทธิฤทธิ์ หลวงปู่ถ้า
฿ 499
เบี้ยแก้ เบี้ยกัน หลวงปู่สรวง - หลวงปู่สรวง, เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เบี้ยแก้ เบี้ยกัน หลวงปู่สรวง
฿ 399
เบี้ยแก้ ชนะจน หลวงปู่สรวง วรสุทโธ ปี60 - หลวงปู่สรวง, เบี้ยแก้ เครื่องรางทรงคุณค่า
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
เบี้ยแก้ ชนะจน หลวงปู่สรวง วรสุทโธ ปี60
฿ 399
แสดง  30 60 90
  • 1

เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ คืออะไร

ในคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เจริญในยุคพระเวทและยุคมหากาพย์เรื่อยมานั้น ได้ให้ความสำคัญกับ ‘หอยทะเล’ โดยกล่าวถึง ... สังข์อสูร ที่ลักลอบกลืนคัมภีร์พระเวทของพระพรหมลงไป ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องตามมาล้วงคัมภีร์จากท้องหอยสังข์ จึงบังเกิดเป็นร่องพระดัชนีจากพระหัตถ์ขององค์นารายณ์บริเวณร่องกลางของเปลือกหอยส่วนท้อง พราหมณ์อินเดียจึงให้ความเคารพ และนำหอยสังข์ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมาประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยนับถือว่าเคยเป็นที่สถิตแห่งคัมภีร์พระเวท และมีรอยพระหัตถ์พระนารายณ์ปรากฏอยู่นั่นเอง

“หอยทะเล” ที่เรียกว่า “เบี้ย” นี้ ยังได้รับความเคารพจากพวกพราหมณ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง "ศักติ" อันเป็นลัทธิที่บูชาเทวสตรี เช่น พระลักษมี พระอุมา พระสุรัสวดี หรือที่เรียกกันว่า "ภควจั่น" ซึ่งมาจาก ภควดี หมายถึง อิตถีเพศที่ควรเคารพบูชา ลักษณะของหอยเบี้ยนั้นจะเป็นหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกแข็ง หลังอูมนูน ส่วนท้องแบนเป็นช่อง ปรากฏรอยขยักคล้ายฟันเล็กๆ บ้าง รู้จักกันในชื่อหอยจั่น หรือหอยจักจั่น และหอยพลู มีหลายขนาดตั้ง แต่ใหญ่กว่าหัวแม่มือและขนาดเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย ในสมัยก่อนเมื่อ “เบี้ย” ถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา เบี้ยจึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ตลอดจนผีสางนางไม้ได้ ตัวอย่างเช่น ในงานวรรณคดีเรื่อง ‘ขุนช้างขุนแผน’ ได้กล่าวถึงตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" นอกจากนี้ยังนิยมนำ ‘เบี้ยจั่น’ มาทำเครื่องห้อยในแบบเครื่องรางโดยประดับอัญมณีอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของ เบี้ยแก้

ในสมัยก่อนเมื่อ “เบี้ย” ถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา เบี้ยจึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ตลอดจนผีสางนางไม้ได้ ตัวอย่างเช่น ในงานวรรณคดีเรื่อง ‘ขุนช้างขุนแผน’ ได้กล่าวถึงตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" นอกจากนี้ยังนิยมนำ ‘เบี้ยจั่น’ มาทำเครื่องห้อยในแบบเครื่องรางโดยประดับอัญมณีอีกด้วย ดังนั้นจึงอาจอนุมานได้ว่า คำว่า "เบี้ยแก้" เดิมมาจากคำว่า เบี้ยแก้บน เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าวและเกิดสัมฤทธิผล ความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพณ์ ที่จะให้โทษและทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน

"เบี้ยแก้" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่เกิดจากภูมิปัญญาพระเกจิคณาจารย์ของไทยโดยแท้ การสร้างสรรค์คัดเลือก "หอยเบี้ยจั่น" ที่ต้องมีฟันครบ 32 มาลงคาถาอาคม กรอก ‘ปรอท’ ลงในตัวเบี้ย ปิดปากด้วย ‘ชันโรง’ ห่อด้วย ‘แผ่นตะกั่ว’ ลงอักขระเลขยันต์ ห่อหุ้มด้วย ‘ด้ายถัก’ ปิดท้ายด้วย ‘การลงรัก’ เพื่อการเก็บรักษา ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการบริกรรมคาถาเพื่อสร้างความเข้มขลังตลอดพิธีกรรม โดยแต่ละเกจิอาจารย์ก็จะมีเคล็ดวิชาอาคมที่แตกต่างกันไป ผู้คนส่วนใหญ่นิยมนำ ‘เบี้ยแก้’ มาผูกเอวหรือห้อยคอ หรือนำมาแช่น้ำมนต์ดื่มหรืออาบ เพื่อแก้และป้องกันคุณไสย รวมถึงสิ่งเลวร้ายต่างๆ ไม่ให้เข้ามากล้ำกราย นอกจากนี้ ‘เบี้ยแก้’ ยังมีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมด้วย

กรรมวิธีการสร้าง เบี้ยแก้

กรรมวิธีสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดนั้น จะใช้วัตถุอาถรรพ์ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ เบี้ยพู ปรอท ชันโรงใต้ดิน (เป็นสัตว์ตระกูลผึ้งนำรังมาใช้ผสมสร้าง) โดยท่านจะคัดตัวเบี้ยให้มีฟันครบ 32 ซี่ บรรจุปรอทแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดิน หุ้มด้วยแผ่นตะกั่ว บางตัวก็หุ้มหมดทั้งตัว บางตัวหุ้มเปิดที่ด้านหลังเบี้ยไว้ บางตัวไม่มีตะกั่วหุ้มก็มี บางตัวอาจจะใช้ผ้ายันต์หุ้มแทนตะกั่วก็มี ตะกั่วที่หุ้มเบี้ยหลวงปู่จะลงอักขระ "พระเจ้า 16 พระองค์" และ "ยันต์ตรีนิสิงเห" แล้วจึงปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง เบี้ยแก้หลวงปู่รอดส่วนใหญ่มักถักเชือกกันเอาไว้ แล้วจึงลงรักหรือลงยางมะพลับไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อความคงทนของเชือกถัก เบี้ยบางตัวอาจจะมีการลงรักปิดทองไว้ด้วย มีทั้งแบบมีห่วงและแบบไม่มีห่วง เบี้ยบางตัวมีการสร้างแบบพิเศษคือ ที่ด้านใต้ท้องเบี้ยมีการบรรจุตะกรุดไว้ด้วย ซึ่งถือว่าหาดูได้ยากยิ่ง และถ้าลองสังเกตเบี้ยแก้ของ "วัดนายโรง" กับ "วัดกลางบางแก้ว" จะเห็นว่ามีลักษณะหลายๆ อย่างที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งขนาดที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะได้วิชามาจากทางลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีเหมือนกันก็เป็นได้ เพราะเมื่อเทียบเคียงอายุอานามของหลวงปู่แขกและหลวงปู่ทองแล้วน่าจะเป็นพระเกจิในรุ่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะได้รับการถ่ายทอดมาจากสำนักเดียวกันครับผม