


ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 2.4 x 3.1 x 0.4 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.01 |
พระเกจิ : 1.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์ 2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน 3.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง 4.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม 5.หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย 6.หลวงพ่อมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา 7.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก 8.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ 9.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 10.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม 11.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม 12.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต 13.หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)ฯลฯ
ชื่อวัด : ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร
พุทธคุณ : พระสมเด็จจิตรลดาถือว่ามีพระบารมีคุ้มครองตัว มีความเข้มขลังทุกอณู โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด และค้าขาย ไม่ต้องแขวนเต็มองค์เพียงแค่ชิ้นส่วน หรือฝุ่นผงที่กะเทาะจากองค์พระใครมีไว้ครอบครองก็ถือว่าสุดยอดแห่งความเป็นมหามงคล
เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อผง
ขนาดวัตถุมงคล : 2.4 x 3.1 x 0.4 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.
1. พระเครื่องชุดนี้ ได้รับพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธนวราชบพิตร” ซึ่งเป็นพระนามเดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา" 2. เป็นพระที่มีพระพุทธลักษณะ เดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา" 3. มวลสารผงจิตรลดา พระราชทานพร้อมกัน กับพระกริ่งปวเรศ ปี 30 และเป็นมวลสาร ชุดเดียวกันกับที่ใส่ในรูกริ่ง พระกริ่งปวเรศปี 30 4. เข้าพิธี พุทธาภิเศก พร้อมกันกับ "พระกริ่งปวเรศปี 30" 5. ด้านหลังประทับตรา "ภปร." สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการประกอบพิธี ณ.วัดบวรฯ ในวันเสาร์ ที่ 12 เมษายน 2529 สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พิธีอธิฐานจิต โดยมีพระอาจารย์ ผู้ทรงศีลาจริยวัตร ร่วมพิธี ดังนี้ 1.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์ 2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน 3.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง 4.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม 5.หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย 6.หลวงพ่อมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา 7.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก 8.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ 9.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 10.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม 11.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม 12.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต 13.หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)ฯลฯ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริสร้างพระราชทานเป็นพระประจำจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ปั้นหุ่นพระพุทธนวราชบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และทรงพระพุทธลักษณะด้วยพระองค์เองจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าให้เททองหล่อพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2509 พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 23 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้าบรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด และเป็นพระพุทธรูปประจำหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วยทหาร จังหวัดแรกที่ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ก็คือจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 ในโอกาสนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่ชาวจังหวัดหนองคาย มีความสำคัญที่ขออัญเชิญมาเฉพาะบางตอน ดังนี้ “...ข้าพเจ้ามาเยี่ยมท่านคราวนี้ ได้นำพระพุทธนวราชบพิตรมามอบให้ด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ข้าพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อมอบไว้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่ฐานบัวหงายข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ อันได้มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร...” “...พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ นอกจากจะถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของประเทศไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงได้บรรจุพระพิมพ์ที่ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง...” “ขออานุภาพแห่งพระพุทธนวราชบพิตร จงปกปักรักษาท่านให้พ้นจากทุกข์ภัยทุกๆประการ บันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี มีความก้าวหน้ารุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และมีความสมัครสมานกัน ในอันที่จะร่วมกันสร้างเสริมความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมืองของเราสืบไป”
พระสมเด็จจิตรลดา เนื้อผง ปี 2539 ด้านหลังมีตรากาญจนาภิเษก สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ในหลวงครองราชย์ครบ50 พรรษา สืบเนื่องในปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี คณะกรรมการมูลนิธีโครงการหลวง มีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้ พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว พระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผงลักษณะและขนาดเหมือนพระสมเด็จจิตรลดา มีรายละเอียดเหมือนกัน เพียงแต่เป็นเนื้อผงพุทธคุณ จัดสร้างจำนวน 1,000,000 องค์ พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2538 สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ดับเทียนชัย มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก รวม 36 รูป
หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร
ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้