



ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 16.5 x 29 x 10.5 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 1.5 |
พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์หลายรูป
ชื่อวัด : วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พุทธคุณ : ป้องกันศัตรูอาฆาตร้าย หากใครคิดร้ายจะแพ้พ่ายไป หากใครทำสิ่งไม่ดีใส่จะสะท้อนกลับคืนไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีศัตรู ผู้ที่คิดร้าย ต่อเราเป็นอย่างมาก แต่ผู้บูชาพระไพรีพินาศจะต้อง ไม่คิดแค้น อาฆาตมาดร้ายต่อผู้อื่นด้วย
เนื้อวัตถุมงคล : โลหะชนวน
ขนาดวัตถุมงคล : 16.5 x 29 x 10.5 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 1.5 กก.
จำนวนจัดสร้าง : องค์
องค์พระสวยงาม อกผายล่ำสัน ด้านหน้าประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 2542 รูปคล้ายใบโพธิ์ ร่มเย็นเป็นสุข สัญลักษณ์นี้ชนะการประกวดออกแบบโดยอาจารย์ นิรันดร ไกรสรรัตน์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 16 ทรงเททองปลุกเสก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ประวัติความเป็นมา พระไพรีพินาศ ประวัติการสร้าง พระไพรีพินาศ นั้นไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ามีผู้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอานุภาพกำจัดภัย ให้ผู้ที่คิดร้ายพ่ายแพ้พระบารมี เรื่องมีอยู่ว่า... นับตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นต้นมา ได้มีผู้ไม่หวังดีกลั่นแกล้งต่างๆ นานา โดยเจตนาจะไม่ให้ได้รับราชสมบัติ ที่เห็นชัดก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใกล้จะเสด็จสวรรคต มีผู้ไปทูลอ้างรับสั่งให้ไปเฝ้า เมื่อเสด็จไปก็ถูกกักบริเวณให้อยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๗ วัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนวางแผน ก็คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งทำตัวเป็นหัวเรือใหญ่ กีดกันไม่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้ราชสมบัติ ท่านผู้นี้เคยแกล้งพระธรรมยุตที่เข้าไปรับบาตรในวัง โดยแกล้งเอาข้าวต้มร้อนๆ ใส่บาตร บาตรเหล็กถูกของร้อนก็ร้อนไปด้วย พระทนความร้อนไม่ได้ก็ต้องโยนบาตรทิ้ง และกรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง จนถึงคิดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเองถ้ารัชกาลที่ ๓ สวรรคต ทั้งยังเคยเจรจามั่นหมายไว้ว่า ถ้ามีวาสนาใหญ่โตจะมีสิทธิ์ขาดในแผ่นดินแล้ว ก็จะทำลายล้างสิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทำไว้จนหมดสิ้น เผอิญมีผู้ทำฎีกากล่าวโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยข้อหาร้ายแรงหลายเรื่อง โปรดให้ชำระมีความผิดฉกรรจ์ จึงโปรดให้ลงพระราชอาชญาแล้วให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๑ กล่าวกันว่าในเวลาใกล้เคียงกับที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกสำเร็จโทษนั้น มีคนอัญเชิญพระพุทธรูปศิลาแบบมหายาน ปางนั่งประทานอภัย มาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตหมายว่าหมดศัตรูแล้ว ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เนื่องจากทรงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรูเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับถือกันว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อันบันดาลให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด ปัจจุบัน พระไพรีพินาศ ประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มเก๋งด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ประธานของวัดบวรนิเวศวิหาร ในหนังสือศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหารได้กล่าวถึงเจดีย์ที่สร้างเก๋งประดิษฐานพระไพรีพินาศไว้ตอนหนึ่งว่า พระเจดีย์ไพรีพินาศ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นบรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ได้พบกระดาษขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนไว้ว่า "เพราะตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ" คาถาบูชา พระไพรีพินาศ ( พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สุจิรัง ปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโนทานิ ปาระมีหิ จะ ทิสสะติ ยาวะชีวัง อะหัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คะโต ปูเชมิ ระตะนัตตะยัง ธัมมัง จะรามิ โสตถินาฯ คำแปล คาถาบูชา พระไพรีพินาศ [ แปลเป็นภาษาไทย โดย พระมหานายก (ฉลอง ชลิตกิจโจ) ] สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเสด็จดับขันธปรินิพพานมาช้านานแล้ว แต่ก็ยังทรงปรากฏดำรงอยู่ในบัดนี้ โดยพระคุณและพระบารมีทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้า ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต บูชาอยู่ซึ่งพระรัตนตรัย ขอประพฤติธรรม โดยสวัสดี เทอญ ฯ
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จ.กรุงเทพฯ วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร
ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร
หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้