เหรียญปลดหนี้ พุทธศิลป์ รุ่น๑ พระพุทธชินราช ประทับหลังท้าวเวสสุวรรณ
วัตถุมงคลหลวงปู่แสง ญาณวโร ศิษย์แห่งหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เบี้ยแก้ เบี้ยกัน ปราบมารมหาลาภ หลวงปู่พัฒน์ วัดห้วยด้วน
เช่าบูชาผ่านไลน์
วัตถุมงคลแก้ชง รับปีเถาะ รู้ก่อน แก้ทัน เฮงๆทั้งปี

วัดและพระเกจิ ดูเพิ่มเติม >>

บทความ

ข่าวงานบุญ ดูเพิ่มเติม >>

24 มกราคม 2566 เข้าถวายสักการะในโอกาสปีใหม่ ท่านพระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนทรเมโธ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม วรวิหาร

วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๖  ที่ผ่านมา โครงการเช่าบูชาวัตถุมงคล บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ได้เข้าถวายสักการะในโอกาสปีใหม่ ท่านพระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนทรเมโธ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม วรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมี คุณนิพนธ์ หมีอินทร์ ผู้จัดการแผนกบริหารโครงการพิเศษ (โครงพระ) และทีมงาน กาลนี้ได้ทำพิธีมอบป้ายและถวายปัจจัยจากการเช่าบูชาวัตถุมงคล ของปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ รวมสุดยอดวัตถุมงคล “หลวงพ่อพระพุทธโสธร”  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๔,๘๔๔.๐๐ บาท มีท่านพระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนทรเมโธ ประธานจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ (สมเด็จทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) ต.คลองขุด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นผู้รับมอบเพื่อสมทบทุนในการสร้างสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อสื่บไป กาลนี้ต้องขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญในการเช่าบูชาวัตถุมงคล มา ณ โอกาสนี้

25 มกราคม 2566 เข้าถวายสักการะในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมวงศ์

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖  ที่ผ่านมา โครงการเช่าบูชาวัตถุมงคล บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ได้เข้าถวายสักการะในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมวงศ์ (วศก ปัญญาอักโข)           นธ.เอก,พธ.บ,ศศ.ม,ร.ป.ด เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ / เจ้าคณะแขวงวัดสามพระยา         โดยมี คุณนิพนธ์ หมีอินทร์ ผู้จัดการแผนกบริหารโครงการพิเศษ (โครงพระ) และทีมงาน กาลนี้ได้ทำพิธีมอบป้ายและถวายปัจจัยจากการเช่าบูชาวัตถุมงคล ของปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๖๙,๔๐๖.๐๐ บาท มีพระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้รับมอบเพื่อสมทบทุนในการบูรณะ เสนาสนะ ภายในวัดอินทร กาลนี้ต้องขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญในการเช่าบูชาวัตถุมงคล มา ณ โอกาสนี้

26 มกราคม 2566 เข้าถวายสักการะในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ท่านเจ้าคุณพระปริยัติวโรปการ เจ้าอาวาสวัดนาคกลางวรวิหาร

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖  ที่ผ่านมา โครงการเช่าบูชาวัตถุมงคล บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ได้เข้าถวายสักการะในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ท่านเจ้าคุณพระปริยัติวโรปการ เจ้าอาวาสวัดนาคกลางวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยมี คุณนิพนธ์ หมีอินทร์ ผู้จัดการแผนกบริหารโครงการพิเศษ (โครงพระ) และทีมงาน กาลนี้ได้ทำพิธีมอบป้ายและถวายปัจจัยจากการเช่าบูชาวัตถุมงคลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรวมสุดยอดวัตถุมงคลวัดนาคกลางวรวิหาร ของปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๐,๙๗๑.๐๐ บาท มีหลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้รับมอบเพื่อสมทบทุนในการสร้างอาคารปฏิบัติธรรม “บูรพาจาริยานุสรณ์” และบำรุงเสนาสนะภายในวัดนาคกลางวรวิหาร กาลนี้ต้องขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญในการเช่าบูชาวัตถุมงคล มา ณ โอกาสนี้

บทความธรรม ดูเพิ่มเติม >>

ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

พระกริ่งและพะชัยวัฒน์เป็นตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์มาจากที่ใด เพราะอะไรพระคณาจารย์โบราณได้สร้างสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันหลักของพระพุทธศสานา พระพุทธศาสนาเป็นศสานาที่มีประชาชนศรัทธาและเคารพนับถือเป็นจำนวนมากศาสนาหนึ่ง โดยเฉพาะประชาชนในทวีปเอเชียองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นพระพระบรมศาสดา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าได้ถึงวาระดับขันธ์ปรินิพพานมาแล้ว ๖๒๔ ปี บรรดา พุทธสาวกมีความเห็นแตกแยกกันในหลักคำสอนเมื่อมีเหตุผลดังนั้นพุทธสาวกทั้งหลาย จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อทำการสังคายนาในหลักคำสอนและได้เกิดความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยึดถือในการปฏิบัติและมีความเห็นว่าต้องยึดถือในพระวินัยอย่างเคร่งครัด จึงเกิด “นิกายลัทธิหินยาน” อีกฝ่ายมีความเห็นว่าต้องยึดหลัดพระอภิธรรมซึ่งไม่เคร่งครัดในด้านพระวินัย และถือว่าการกระทำด้วยเหตุผลและเป็นผลต่อการอนุเคราะห์ยกเว้นได้ ความเห็นเช่นนี้ทำให้เกิดเป็น “นิกายลัทธิมหายาน” ในลัทธิมหายานได้แปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งบดสวดมนต์เป็นภาษาของตัวเอง แต่ลัทธินิกายหินยานเป็นการยึดถือพระบาลีอย่างเคร่งครัด

พระพุทธเจ้าพระองค์ที่มีนามว่า “พระไภษัชยคุรุ” เป็นพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิชนที่นับถือลัทธิมหายานนับถือมากดังที่ปรากฏในข้อความหนังสือ “กำเนิดพระกริ่ง” ที่เขียนโดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ในหนังสือ “ชีวิต” ฉบับที่ ๕ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ความหมาย ตอนหนึ่งว่า “อันที่จริงพระกริ่งก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชคุรุพุทธเจ้านั่นเองพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิ มหายานยิ่งนัก ปรากฏพระประวัติอยู่ ในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ พระพุทธไภภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลประณิธานสูตร” สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศากยมุนีพุทธเสด็จประทับ ณ กรุงเวสาลี สุขโฆสวิหาร พร้อมด้วยพระมหาสาวก ๔,๐๐๐ องค์ พระโพธิสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และพระราชาธิบดี เสนาอำมาตย์ ตลอดจนปวงเทพโดยสมัยนั้นและพระมัญชุศรีผู้ธรรมราชาบุตร อาศัยพระพุทธภินิหารลุกขึ้นจากที่ประทับทำจีวรเฉลียงบ่าข้างหนึ่ง ลงคุกพระชาณุกับแผ่นดิน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสมเด็จพระโลกนาถเจ้า ประคองอัญชลีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์โปรดประทานพระธรรมเทศนา พระพุทธนามและมหามูลปณิธานและคุณวิเศษอันโอฬารแห่ง ปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อยังผู้สดับพระธรรมกถานี้ ให้ได้รับหัตถประโยชน์บรรลุถุงสุขภูมิ” ความสุขในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีสัตว์เหล่าใดที่ยากจนปราศจากอาภรณ์นุ่งห่ม อันความหนาวร้อนและเหลือบยุงเบียดเบือน ทั้งกลางวันและกลางคืน หากได้สดับนามแห่งเราและหมั่นรำลึกถึงเราไซร้ เราจักได้สิ่งที่ปรารถนาและจักบริบูรณ์ด้วยธนสารสมบัติสรรพอาภรณ์เครื่องประดับและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ ฯลฯ พระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ตรัสต่อไปว่า พรไภษัชยคุรุ มีพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ ๑๒ องค์ คือพระสุริยไวโรจนะและพระจันทรไวโรจนะ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยของพระไภษัชยคุรุพระพุทะเจ้าเบื้องปลายแห่งประสูติ ทรงแสดงอานิสงส์ของการบูชาพระไภษัชยคุรุว่า “ผู้ใดก็ดีได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้ว ก็เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย ศาสตราวุธทำอันตรายมิได้ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ” ในเวลาตรัสพระคาถา พระบรมศาสดาทรงพระทัยเข้าสมาธิ ชื่อ “สรวลสัตวทุกขภินทนาสมาธิ” ปรากฏรัศมีไพไรจน์ขึ้นเหนือพระเกตุมาลา แล้วจึงตรัสพระคาถามหาธารณี  

การกำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย

  ในพุทธศาสนาได้แบ่งเป็นลัทธินิกายใหญ่สองนิกาย ในพุทธศาสนาลัทธินิกายมหายาน พุทธสาวกได้เคารพและศรัทธาในพระพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง คือ พระไภษัชยคุรุ ซึ่งมีความปรารถนาในการที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ในโลก เมื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระไภษัชยคุรุได้ปรากฏ จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปไภษัชยคุรุขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเพื่อกราบไหว้สัการบูชาขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปที่สาวกลัทธินิกายมหายาน เคารพนับถือมากได้ปรากฏมีพระปฏิมาของพระไภษัชยคุรุบูชากันทั่วไปในวัดของ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียดนาม และประเทศเขมรและเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเทศไทยเพิ่งจะมาเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เมื่อยุคกรุงสุโขทัย อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งตั้งแคว้นอยู่บนคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๗๐๐ รวมระยะ ๖๐๐ ปี เป็นอาณาจักรที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายในหมู่เกาะชวา มลายู จนมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนประเทศเขมรปรากฏมีพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและลัทธิพราหมณ์เจริญแข่งกันพระมหากษัตริย์ของประเทศเขมรหรือขอมในสมัยนั้นบางองค์เป็นพุทธมามกะบางองค์เป็นพราหมณ์มกะ

ใน พ.ศ.๑๕๔๖ – ๑๕๙๒ “พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑”ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรที่ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้วมีพระนามว่า “พระบรมนิวารณบท” ลัทธิมหายานไม่เฟื่องฟูในสมัยพระองค์มากนักเนื่องจากสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยังมีกษัตริย์อีกพระองค์คือ “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๔๘ พระองค์ทรงเป็นมหายานพุทธมามกะโดยแท้จริง ทรงพยามยามจรรโลงพุทธศาสนาลัทธิมหายานให้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของประชาชนทรงเป็นพระมหาราชาธิราชองค์สุดท้ายของประเทศเขมร เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์และประเทศเขมรก็เข้าสู่ยุคเสื่อมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองใหม่ชื่อ “นครชัยศรี” คือปราสาทพระขรรค์สำหรับเป็นพุทธสถานประดิษฐานพระปฏิมาอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ อันเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณาซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันพระชนกแล้วทรงสร้างปราสาทตาพรหม ประดิษฐานพระปฏิมาปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์แห่งปัญญาอุทิศแด่พระวรราชมารดา มีจารึกว่าปราสาทตาพรหมเป็นอาวาสสำหรับพระมหาเถระ ๑๘ องค์และสำหรับพระภิกษุ ๑,๗๔๐ รูป แล้วทรงสร้างปราสาทบายนเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสนองพระองค์เอง

การปรากฏศิลาจารึกตาพรหมว่า “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ได้สร้างโรงพยาบาลคือ “อโรคยาศาลา” เป็นทานทั่วพระราชอาณาจักรถึง ๑๐๒ แห่ง ด้วยทรงเคารพนับถือพระไภษัชยคุรุ ทรงพยายามอนุวัติตามพระพุทธจริยาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น นอกจากนั้นยังได้สร้างรูปพระปฏิมา “ชยพุทธมหานาถ” พระราชทานไปประดาฐานไว้ในเมืองอื่นๆ ๒๓ แห่ง ทรงสร้างธรรม ศาลา ขุดสระ สร้างถนนจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ “พระกริ่งปทุม” ของเขมรได้สร้างขึ้นอย่างแพร่หลายทุกยุคในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่ออุทิศบูชาแด่พระพุทธไภษัชยคุรุ และได้มีการสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ในการสร้างได้มีพิธีปลุกเสกประจุฤทธิ์เข้าไปตามกระบวนลัทธิมหายาน การปรากฏในพระพุทะไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปรณิธานสูตร พระกริ่งปทุมจึงมีฤทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังลัทธิพุทธมหายานเสื่อมสูญคติการสร้างพระกริ่งยังคงสืบทอดกันมา และกลับมาแพร่หลายในหมู่ชาวไทย ลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเขมร เพราะมีอาณาบริเวรประเทศติดต่อกัน แต่เมื่อนานเข้าก็ลืมประวัติเดิม วิการสร้างแบบเดิม เพราะพระสูตรมหายานเป็นภาษาสันสกฤตเลือนหายไปตามพุทธลัทธิมหายาน ต่อมาพระเกจิอาจารย์ท่านได้ดัดแปลงวิการสร้างใหม่ตามแบบไสยเวทมีการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นที่โลหะซึ่งก็บังเกิดผลศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามาตรว่าทำขั้นตอนให้ถูกต้องตามพิธีกรรมใหม่นี้จริงๆส่วนเม็ดกริ่งในองค์พระนั้นน่าสันนิษฐานได้ ๒ ประการ โดยประการแรกเพื่อสัญลักษณ์แห่งพระพุทธภาวะ และประการที่สองตามคติที่ว่าถ้าได้สดับพระนามจะได้รับความโชคดีจึงได้บรรจุเม็ดกริ่งไว้เพราะเมื่อสั่นองค์พระจะได้บุญสองต่อผู้สั่นเท่ากับได้เจริญภาวนาถึงพระไภษัชยคุรุ ส่วนผู้ที่ได้ยินก็ได้รับบุญด้วย อนึ่งในบรรดาผู้นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทะไภษัชยคุรุพบว่า พระกริ่งบางสมัยหรือบางสำนักเป็นพระพุทธรูปนั่งแบบปาง “มารวิชัย” พระหัตถ์ข้างซ้ายแทนที่จะถือ “วัชระ” กลับถือ บาตรน้ำมนต์ ผลสมอ ฯลฯ เหตุก็เพราะผู้สร้างคงมีประสงค์จะให้มีความหมายในทางบูชาแล้วป้องกันสรรพโรคาพาธและความอัปมงคล สำหรับประเทศไทย การสร้างพระกริ่งปรากฏเป็นหลักฐาน ก่อนยุครัตนโกสินทร์ มีบางท่านกล่าวอ้างว่า “ควรสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะมีตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” เป็นเครื่องมือแต่ “ตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” ได้มีการบันทึกไว้ในตอนท้ายของตำราว่า “เป็นพระยันต์ที่ใช้สำหรับลงหล่อพระพุทธรูปที่สำคัญ” แต่พระคณาจารย์ในยุคต่อมานำเอาพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ มาลงผสมในหล่อโลหะเพื่อความขลังของพระกริ่งหรือพระชัยวัฒน์หล่อขึ้น

ส่วนพระกริ่งหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่า จะต้องถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดบวรนิเวศฯ ด้วยหลักฐานข้อมูล พิจารณา คือ ๑. ประการแรก จากคำบอกเล่าของผู้ที่เกิดทันสมัย (หมอสุภา มีทองคำ) ได้บอกกล่าวเล่าให้พระคุณหนุ (อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร) ฟังว่า “สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว ได้สร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๑โดยจัดพิธีขึ้นบริเวณหน้ากุฏิคณะ ๑๑ สร้างครั้งแรกเพียง ๙ องค์หมายเลขกำกับทุกองค์” ๒. ประการที่สอง ในขณะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสฺเทว) ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๑ สมเด็จพระมหาสมรเจ้าพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาเยี่ยม เมื่อทรงทราบ รายละเอียดถึงพระอาการของโรคแล้วทรงรับสั่งว่า “เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯสมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ท่าน ทรงพระอธิษฐานอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำ ขอให้เป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้อหิวาตกโรคกินหายปกติเป็นปกติ” ปรากฏว่าอาการป่วยค่อยทุเลาลงเป็นลำดับและหายเป็นปกติในที่สุด

ที่กล่าวมาทั้งหมดพระกริ่งได้มีวิวัฒนาการถือกำหนดขึ้น ณ สถานที่ใดก่อน ทั้งหมดที่เสนอมามิใช่ข้อยุติ เป็นเพียงข้อมูลและหลักฐานที่ผู้เขียนศึกษาค้นคว้าตามความสามารถเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คำบอกเล่าและการสันนิษฐานจากแหตุและผลเท่านั้น

Cr. ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น

หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ

หลวงพ่อพรหม แห่ง วัดขนอนเหนือ ถือว่า เป็นหนึ่งในพระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง โดยเฉพาะเรื่องความคงกระพันชาตรี ที่ท่านได้รับการพูดถึงและยกย่องอย่างแพร่หลาย
หลวงพ่อพรหม   ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่  20  ตุลาคม  พ.ศ.  2456 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11  ปี ฉลู 
อุปสมบทในเดือน 6  ตรงกับปี พ.ศ. 2479  อายุ 23 ปี  โดยมีพระครูสารกิจ (ฝัก) วัดทำเลไทย อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ชุ่ม วัดขนอนเหนือ  เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การได้มาซึ่งวิชาอาคมที่เข้มขลังของท่านนั้น เริ่มต้นได้รับการถ่ายทอด จากโยมสุวรรณ ซึ่งบิดาของท่านตั้งแต่เยาว์วัย ผ่านตำราของท่านขรัวแสง วัดเสาประโคน สหธรรมิกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า   ทำให้หลวงพ่อพรหมมีทั้งความรู้ในด้านวิชาอาคมรวมทั้งว่ากันว่าท่านมีหนังดีมาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ

และเมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่อพรหมยังเดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเถราจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงปู่ฟัก วัดทำเลไทย หลวงปู่อ่ำ วัดงิ้วงาม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ เป็นต้น 

ส่วนในด้านวัตถุมงคลนั้นหลวงพ่อพรหมได้สร้างวัตถุมงคลไว้จำนวนหลายรุ่นด้วยกันแต่ที่โดดเด่นและพูดถึงนั้นก็จะมี เหรียญนารายณ์ออกศึก ,นารายณ์ทรงเมือง และเหรียญหนุมานออกศึก

หลวงพ่อพรหม มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 มกราคม ปี2534 ด้วยอายุ 78 ปี ปัจจุบันสังขารท่านไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้ว ที่วัดขนอนเหนือ  

ตำนานพระ 5 พี่น้อง เบญจภาคีวารีปาฏิหาริย์

พระพุทธรูปทั้ง 5 นี้เป็นพี่น้องกันก็มาจากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุและสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล มีอำนาจทางจิตมาก ได้ตั้งจิตอธิษฐานร่วมกันว่าจะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน 

"เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน" 

และเมื่อพระภิกษุทั้งห้ามรณภาพไปแล้ว ก็ได้เข้ามาสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์และแสดงปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำทั้ง 5 สาย และมีชาวบ้านมาพบเจอจึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและนำไปประดิษฐานไว้ตามวัดใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ


1.หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
ประวัติของหลวงพ่อโสธรนั้น หลังจากที่ลอยน้ำมาถึงบริเวณหน้าวัดโสธร ชาวบ้านจำนวนมากมาช่วยกันฉุดองค์พระขึ้นฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาจึงมีผู้รู้คนหนึ่งได้ทำพิธีบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญ และใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ก่อนจะฉุดขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปองค์นี้จึงเสด็จขึ้นมาอยู่บนฝั่งได้ และชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอัญเชิญมาประดิษฐานที่พระวิหารในวัดโสธร

ปัจจุบัน “หลวงพ่อโสธร” หรือ “พระพุทธโสธร” ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถหินอ่อนหลังใหม่ของ “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โดยภายในพระอุโบสถหลังใหม่นี้ตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามด้วยเรื่องราวของแดงแห่งทิพย์ และที่ใกล้กับพระอุโบสถหลังใหม่ ก็เป็นพระอุโบสถหลังเดิมที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรองค์จำลอง ที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาสักการะและปิดทองที่ตัวองค์พระได้

2.หลวงพ่อโต จ.สมุทรปราการ
สำหรับประวัติของหลวงพ่อโตนั้น หลังจากที่องค์พระลอยน้ำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มีชาวบ้านพยายามฉุดองค์พระขึ้นจากน้ำแต่ก็ไม่สำเร็จ จากนั้นองค์พระก็ลอยมาผุดขึ้นที่คลองสำโรง สมุทรปราการ ชาวบ้านแถบนี้จึงอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยขนะสงคราม หรือ วัดบางพลีใหญ่ใน จนถึงในปัจจุบัน

“หลวงพ่อโต” ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ “วัดบางพลีใหญ่ใน” อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเหตุที่ชื่อว่าหลวงพ่อโตก็เนื่องจากองค์ท่านมีขนาดใหญ่โต หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ และมีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่สร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ นั้นก็มีการวัดขนาดองค์พระกับช่องประตู โดยเผื่อความกว้างของช่องประตูไว้แล้ว แต่เมื่อถึงเวลาอัญเชิญหลงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถจริงๆ ปรากฏว่าหลวงพ่อองค์ใหญ่กว่าช่องประตูมาก บางคนเชื่อว่าเป็นอภินิหารของหลวงพ่อโต จึงช่วยกันจุดธูปอธิษฐานขอให้หลวงพ่อผ่านเข้าประตูโบสถ์ไปได้ ซึ่งก็สามารถอัญเชิญหลวงพ่อผ่านเข้าประตูโบสถ์ได้อย่างง่ายดาย

3.หลวงพ่อทอง จ.เพชรบุรี
ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านแหลมซึ่งอยู่ปากอ่าวจังหวัดเพชรบุรี ได้เป็นลากอวนไปพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยติดขึ้นมา จึงได้อาราธนาพระพุทธรูปขึ้นบนเรือแล้วกลับเข้าฝั่ง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ “วัดเขาตะเครา”อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และประดิษฐานอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน

“หลวงพ่อทอง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เดิมชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ต่อมาเกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาเรียกว่าหลวงพ่อทอง โดยชาวบ้านเชื่อกันว่า หลวงพ่อทองนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องโชคลาภ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่สมัครเรียน สมัครงาน ฯลฯ มักจะมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย

4.หลวงพ่อบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
ตำนานของหลวงพ่อบ้านแหลมเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ขณะที่พบพระพุทธรูปลอยน้ำมาหนึ่งองค์ (หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา) และกำลังกลับเข้าฝั่ง ก็พบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งลอยปริ่มน้ำอยู่ไม่ไกลนัก เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร จึงได้อัญเชิญขึ้นเรืออีกลำหนึ่ง แต่พอเรือแล่นมาถึงแม่น้ำแม่กลอง หน้าวัดศรีจำปา ก็ได้เกิดมีฝนตกหนัก ลมพายุแรงจนทำให้เรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนนั้นล่มลง พระจมหายลงไปหาอย่างไรก็ไม่พบ

ต่อมา ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ช่วยกันลงค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลอง จนพบพระพุทธรูปยืนนั้นและอัญเชิญไปยังวัดศรีจำปา แต่เมื่อชาวบ้านแหลมที่เป็นผู้พบได้รู้ข่าวว่าเจอพระพุทธรูปที่จมน้ำแล้วจึงพากันมาทวงพระคืน แต่ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ไม่ยอมคืนให้ จนสรุปสุดท้ายชาวบ้านแหลมจึงยินยอมยกพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรให้ชาวบ้านศรีจำปาไป แต่มีข้อแม้ว่าต้องเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดบ้านแหลม" ตามสถานที่ที่พบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก และเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"


“หลวงพ่อบ้านแหลม” เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวใน 5 องค์ที่เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ “วัดบ้านแหลม” หรือ “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านมักจะมาขอพรเรื่องความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน แคล้วคลาด ปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง

5.หลวงพ่อวัดไร่ขิง จ.นครปฐม
ประวัติของหลวงพ่อวัดไร่ขิงนี้มีอยู่หลายแบบด้วยกัน บ้างก็ว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และชาวบ้านได้นำขึ้นประดิษฐานที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และเรียกท่านว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” บ้างก็เล่าว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรในพ.ศ.2394 และครองวัดศาลาปูนวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา อนุญาตให้อัญเชิญจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิง โดยอัญเชิญล่องแพมาทางลำน้ำ

และในวันที่ชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพไม้ไผ่ ตรงกับวันสงกรานต์พอดี ขณะที่กำลังอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพนั้น แสงแดดที่ส่องแรงก็กลายเป็นเมฆดำ มีฟ้าร้องฝนตกโปรยปรายลงมา ทำให้คนที่อยู่ ณ ที่นั้นเกิดความชื่นใจ เชื่อว่าหลวงพ่อจะช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป


พระเครื่องออนไลน์

เว็บพระแท้ ร่วมสร้างสะสมบุญไปกับ Amulet24.com พระเครื่องออนไลน์ รวมวัตถุมงคล เช่าบูชาพระแท้ 100% ออกจากวัดโดยตรง รวบรวมทั้งเครื่องรางของขลัง มวลสารศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อโสธร หลวงปู่ทวด สมเด็จพุฒาจารย์โต ท้าวเวสสุวรรณ พระซุ้มกอ  พระกำลังแผ่นดิน และอีกหลากหลายพระเกจิชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย อานิสงส์ของการทำบุญ แก้ปีชง  ช่วยให้ชีวิตราบรื่น ปัดเป่าเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี โดยรายได้แต่ละโครงการไม่เพียงแค่ร่วมทำบุญ แต่เงินทุกบาทยังมีส่วนร่วมในการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ส่งฟรีที่เซเว่นอีเลฟเว่น รับวัตถุมงคลได้ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง